การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • จีระนันท์ พันธุ์โพธิ์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ชาญยุทธ หาญชนะ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, เทศบาลตำบลบ้านโคก, หลักศาสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของประชาชน จำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของประชาชน ประชากร ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลบ้านโคก 7 หมู่บ้าน  จำนวน 1,345 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 309 คน ขอบเขตด้านเนื้อหามี 5 ด้าน คือ ด้านความพอประมาณ  ด้านความมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  ด้านเงื่อนไขความรู้ และด้านเงื่อนไขคุณธรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย            ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test , F-test (One – way ANOVA) ในกรณีที่มีความแตกต่างก็ทดสอบความแตกต่างโดยวิธีของเซฟเฟ่ (Scheffe)

ผลการวิจัย พบว่า  การศึกษาผลการวิจัยพบการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของประชาชนว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (=3.36, S.D.=0.45) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม (=4.27, S.D.=0.46) รองลงมา คือด้านความมีเหตุผล (=3.69, S.D.=0.53) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านความพอประมาณ (=3.13, S.D.=0.44)  ผลการเปรียบเทียบการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของประชาชนของหัวหน้าครัวเรือนจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ  อาชีพ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของประชาชนด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้านเงื่อนไขความรู้ และด้านเงื่อนไขคุณธรรม  ไปใช้ไม่แตกต่างกันและพบว่าในภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้               ผลการศึกษาแนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของประชาชน สรุปเป็นรายด้านได้ดังนี้ ด้านความพอประมาณ ควรดำเนินชีวิตโดยยึดหลักสายกลาง พึ่งตนเองเป็นหลัก ควรตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ใช้จ่ายเฉพาะในสิ่งจำเป็น ไม่ก่อหนี้โดยไม่จำเป็น และควรจัดทำบัญชีครัวเรือนและเก็บออมรายได้ส่วนหนึ่งไว้ใช้ในยามจำเป็น ด้านความมีเหตุผล ใช้เหตุผลในการพิจารณาและแก้ไขปัญหาด้วยความรอบคอบ        ใช้จ่ายเงินอย่างมีเหตุผล คุ้มค่าและมีความจำเป็น และใจกว้าง หนักแน่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หลีกเลี่ยงอบายมุขทั้งปวง โดยหัวหน้าครัวเรือนเป็นแบบอย่างที่ดี ปลูกฝังความคิดเรื่องความขยัน อดทน และอดออมให้แก่สมาชิกในครัวเรือน ปลูกฝังวินัยในตนเองให้แก่สมาชิกในครัวเรือน        ด้านเงื่อนไขความรู้ นำความรู้ใหม่ๆในการประกอบอาชีพมาใช้ ศึกษาหาความรู้การดำเนินชีวิตแบบพอเพียงเพิ่มเติม อยู่เสมอและเข้าอบรมและศึกษาดูงานอยู่เสมอ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง และปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ถูกกฎหมาย ประพฤติตนตามหลักศาสนา

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2551). แผนยุทธศาสตร์ กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2551-2554.

กรุงเทพฯ: รำไทยเพรส.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2554). คู่มือการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ. กรุงเทพฯ: บีทีเอสเพรส.

กาญจนา แก้วเทพ และ กนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2530). การพึ่งตนเองศักยภาพในการพัฒนาชนบท.

กรุงเทพฯ: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.

กีรติ เกิดคำ. (2552). ความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสันติสุข

หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ลาหลวง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐ

ประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ใจทิพย์ อุไพพานิช. (2550). ความคิดเห็นของข้าราชการเรือนจำจังหวัดนนทบุรีต่อการนำปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์”

จำรัส โคตะยันต์. (2553). ความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข”

กรณีศึกษาหมู่บ้านก้างปลา ตำบลหนองไผ่ อำเภอวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น .

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. (2536). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากร. ทิศทางไทย, 1(5), 1-10.

น้ำฝน ผ่องสุวรรณ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการประยุกต์ปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปนัดดา ดวงแก้ว. (2553). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของ

ข้าราชการสังกัด กองการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กรมการทหารสื่อสาร. ภาค

นิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พันธุ์บุณย์ ทองสังข์. (2549). หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับกลยุทธ์การจัดการองค์การใน

สภาวะวิกฤติ กรณีศึกษา: ชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนา

ทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วาสิฏฐ์ มณีโชติ. (2552). รายงานการวิจัยการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ใน

การดำเนินชีวิตของนายทหารชั้นประทวน สังกัดกองพันทหารช่างที่ 9. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วลัยพรรณ จันทร์หอม. (2553). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของ

ครู โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร

มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วรารัตน์ พันธ์สว่าง และคณะ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติของ

หมู่บ้าน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา : บ้านคลองมะแพลบ หมู่ที่ 9

ตำบลศรีภิรมย์อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต

สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม. (2543). แผนชุมชนพึ่งตนเอง. เอกสารประกอบการประชุม เชิง

ปฏิบัติการเสริมสรางความเขมแข็งของชุมชน : ธนาคารออมสิน.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2525). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

เสรี พงศ์พิศ. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ.

สมศักดิ์ ตรงงาม. (2553). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของ

ประชาชนใน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร

มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เทศบาลตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู. (2563). ข้อมูลทั่วไปของเทศบาลตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู. เทศบาลตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021