ศึกษาวิเคราะห์หลักปกครองหลักอปริหานิยธรรมกับการสร้างความสามัคคีปรองดอง
คำสำคัญ:
การปกครอง, หลักอปริหานิยธรรม, ความสามัคคีปรองดองบทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาหลักอปริหานิยธรรม. 2. เพื่อศึกษาหลักความสามัคคี 3. เพื่อวิเคราะห์การปกครองตามหลักอปริหานิยธรรมกับการสร้างความสามัคคีปรองดอง ในส่วนของหลักอปริหานิยธรรม 7 ประการนั้น คือหลักธรรมสำหรับใช้ในการปกครอง เพื่อป้องกันมิให้การบริหารหมู่คณะเสื่อมถอย แต่กลับเสริมให้เจริญรุ่งเรือง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งหมู่ชนและผู้บริหารบ้านเมือง และพระภิกษุสงฆ์ในยุคของการแข่งขันกันสูงภายใต้กระแสทุนนิยมและการให้ความสำคัญในด้านวัตถุนิยมที่มากมายนั้น สังคมไทยกลับมีปัญหาความขัดแย้งขาดความสามัคคี อปริหานิยธรรมคือหลักธรรมในทางพุทธศาสนาที่จำเป็นและเป็นความหวังที่จะนำพาให้บ้านเมืองในยุคนี้มีความเจริญต่อไป
การแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายแม้จะมีความเห็นต่างของแต่ละฝ่าย เพราะต่างก็มีเหตุผล แต่ก็มิได้หมายความว่า เหตุผลที่ต่างกันของอีกฝ่ายไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็พยายามหาเหตุผลที่ดีของแต่ละฝ่ายมาสนับสนุนฝ่ายตน เพื่อให้อีกฝ่ายเกิดการยอมรับในความคิดของตนและสามารถที่จะอยู่ร่วมกันโดยไม่เกิดข้อขัดแย้ง ดังนั้นหลักอปริหานิยธรรม 7 สามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในยุคสมัยปัจจุบันนี้ น่าจะเป็นวิธีการเพื่อหาทางออกที่ดีในสังคมไทยที่มีสถาบันหลักคือพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาเป็นตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของสังคมให้เกิดสันติสุขและลดปัญหาข้อขัดแย้งไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายที่สุดเกิดความสามัคคีปรองดอง
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12.
กองวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย. (2555). หนังสือ DOU PD 008 พุทธธรรม 2.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต.
พระมหาสมศักดิ์ ปญฺญาปชฺโชโต. (2560). ศึกษาวิเคราะห์การปกครองหลักอปริหานิยธรรมตามทางรัฐศาสตร์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณทิต สาขารัฐศาสตร์การปกครอง บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระธีรเดช ธีรเตโช. (2559). การปฏิบัติงานตามหลักอปริหานิยธรรมของบุคลากรเทศบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณทิต บัณทิตวิทยาลัย สาขารัฐศาสตร์การปกครอง, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาธรรมกรณ์ ปญฺญาสิริ. (2556). ศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ตามหลักอปริหานิยธรรม 7. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณทิต สาขารัฐศาสตร์การปกครอง บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.