ผู้ประกอบการค้าอัญมณีตามหลักปาปณิกธรรม

ผู้แต่ง

  • วรรณทิพา สังขสูตร คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาอดิเดช สติวโร (สุขวัฒนวดี) คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการค้าอัญมณี, ปาปณิกธรรม, นักท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการนำหลักปาปณิกธรรมมาใช้แก้ปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการค้าอัญมณี จากการศึกษา พบว่า หลักปาปณิกธรรม 3 ได้แก่ 1) จักขุมา (มีสายตาดี เพื่อคอยตรวจสอบอัญมณีให้ดีอยู่เสมอ) 2) วิธูโร (รู้แหล่งซื้อขายอัญมณีในราคาที่ถูกและเข้าใจกลไกตลาดการค้าอัญมณีเป็นอย่างดี) และ 3) นิสสยสัมปันโน (มีความพร้อมด้านทุนทรัพย์และหาแหล่งทุนได้ง่าย) สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการค้าอัญมณีได้ 6 ประการ ดังนี้ 1) สภาพเศรษฐกิจและการเมือง ผู้ค้าอัญมณีต้องคอยสอดส่องรู้ความเคลื่อนไหวจากข่าวสารของรัฐบาลเพื่อเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการลงทุนและด้านการหาลูกค้า 2) การแข่งขันของผู้ประกอบการค้า ผู้ค้าอัญมณีต้องคอยตรวจสอบข้อมูลให้รู้แหล่งเพชรพลอยใหม่ รวมถึงสอดส่องกลโกงของมิจฉาชีพร่วมกับเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน 3) ผู้ประกอบการค้ากับลูกจ้าง ผู้ค้าอัญมณีต้องให้ความสำคัญกับลูกจ้างเสมือนเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ดูแลทุกข์บำรุงสุข เป็นที่พึ่งพิงที่ดีได้        4) ความไม่ซื่อสัตย์ของคนส่งเพชรพลอย ผู้ค้าอัญมณีต้องตรวจสอบเพชรพลอยหรือวัตถุดิบให้ตรงตามคุณภาพ ไม่ให้ถูกหลอกขายสินค้าปลอมปนเกรด 5) ผู้ประกอบการค้ากับผู้ซื้อ ผู้ค้าอัญมณีต้องพยายามสรรหาสินค้าที่ลูกค้าพึงพอใจได้ทุกรูปแบบ โดยคำนึงถึงความสุขของลูกค้าเป็นสำคัญ 6) การขายอัญมณีให้กับนักท่องเที่ยว ผู้ค้าอัญมณีต้องเรียนรู้อุปนิสัยของนักท่องเที่ยวแต่ละประเทศว่าชอบอัญมณีแบบไหน และเลือกสรรสิ่งที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบได้ตรงตามความต้องการได้เสมอ

References

ธัญญา พยากรณ์ และ นเรนทร นเรนทรเสนี. (2557). มหัศจรรย์แห่งอัญมณีและหินสี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เพชรกะรัต จำกัด.

โพสต์ ทูเดย์. (2563). “เอกชนอัญมณีไทยบุกญี่ปุ่น ชี้ตลาดมีโอกาสโตสูง”. (ออนไลน์). สืบคืนเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.posttoday.com/economy/ news/537886.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พิภพ วชังเงิน. (2546). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทรวมสาส์น 1977.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรรณทิพา สังขสูตร. (2560). แนวทางการประกอบธุรกิจการค้าอัญมณีที่พึงประสงค์ตามหลักพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสรีวัฒน์ สมินทร์ปัญญา. (2550). หลักการวิเคราะห์อัญมณี Principles of Gem Identification. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย. (2563). 10 อันดับส่งออกของไทย. (ออนไลน์). สืบคืนเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.efinancethai.com/Advertorial/AdvertorialMain.aspx?name=ad_201901241159.

ศักดา ศิริพันธ์ (ราชบัณฑิต). (2552). อัญมณีในเครื่องประดับ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทด่านสุธาการพิมพ์ จำกัด.

เฮนรี่ โฮ และ มร.ริชาร์ด แม็คเกรเกอร์. (2554). รู้ไว้ไม่มีพลาด: การเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ. แปลโดย จิระยุทธ วจนะถาวรชัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอัญมณีศาสตร์เอเชีย จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021