ชาวพุทธกับวิกฤติศรัทธา

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรษัฎฐพรรษ อคฺคธมฺโม (ณ น่าน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

บทคัดย่อ

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ ผู้แต่งได้ตั้งชื่อเรื่องไว้น่าสนใจ ในส่วนเนื้อหาผู้แต่งคือ อาจารย์วศิน อินทสระ ได้บรรยายด้วยภาษาที่เรียบง่าย เรียงร้อยเหตุการณ์ไปตามลำดับ ทำให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการเรื่องราวเหตุการณ์เห็นภาพได้ชัดเจน และเข้าใจได้แจ่มชัด แสดงให้เห็นถึง ความมีอัจฉริยภาพในด้านความคิดที่ละเอียดรอบคอบเฉียบคม ความสามารถในการจัดกระบวนการความคิดอย่างเป็นระบบของผู้แต่ง มีเทคนิคที่ชวนให้ผู้อ่าน ได้อ่านด้วยความสนใจ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ ส่วนข้อที่ควรนำมาพิจารณาของหนังสือเล่มนี้ มีเพียงเล็กน้อย ดังที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น คือ ภาพบนหน้าปกของหนังสือมีการสื่อความหมายที่ไม่ชัดเจน เนื่องจากภาพที่ปรากฏบนหน้าปก เป็นภาพที่ดูเป็นสื่อสัญลักษณ์เชิงนามธรรมเกินไป (รูปดอกบัวบาน) ทำให้เกิดความสับสนได้ ซึ่งไม่มีการสื่อความหมายและความเข้าใจที่ชัดเจนอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งในบริบทตามนัยสัญญะของ “ดอกบัว” จะสื่อไปในเชิงของความเป็น “พุทธะ” แต่เมื่อนำมาประกอบใช้เป็นภาพปกของหนังสือนั้น ทำให้เกิดความสงสัยในการตีความเชิงสัญญะว่า (รูปดอกบัวบาน) ในที่นี้นั้นจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับชื่อเรื่อง และจากการพิจารณาทั้งรูปภาพและชื่อเรื่อง ไม่มีการสื่อความหมายในทางธรรมอย่างชัดเจน หากหนังสือเล่มนี้ ไม่มีคำว่า “วศิน อินทสระ” ผู้อ่านก็คงจะเดาไม่ออกว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือสื่อธรรม โดยในทัศนะของผู้วิจารณ์อยากให้ข้อเสนอแนะในเชิงการเกริ่นถึง วลีหรือประโยคที่เชื่อมโยงการใช้คำกับภาพให้สื่อในเชิงสัญญะอย่างชัดเจน เช่น “การตื่นรู้ในหลักธรรมของชาวพุทธ” เป็นต้น ซึ่งในทัศนะของผู้วิจารณ์มีความเห็นว่า หากมีการพิมพ์ครั้งเผยแพร่ในครั้งต่อไป ควรจะได้มีการปรับปรุงในส่วนนี้ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในหนังสือเล่มนี้ให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระน่าสนใจ และเป็นประโยชน์อย่างมากต่อพุทธศาสนิกชนที่จะได้นำความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับการดำเนินชีวิตต่อไป

References

มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2558). ชาวพุทธกับวิกฤติศรัทธา. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชมรมกัลยาณธรรม, สมุทรปราการ: บุญศิริการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021