การพัฒนากิจกรรมนันทนาการเพื่อสร้างสมรรถนะจิตใจและทางกายของโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • บรรจง ลาวะลี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูชัยรัตนากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สุเทพ เมยไธสง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • จิราภรณ์ ผันสว่าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • อดิศักดิ์ ทุมอนันต์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ฉัตรชัย ชมชารี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

กิจกรรมนันทนาการ, สมรรถนะจิตใจและทางกาย, โรงเรียนผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะทางจิตใจและทางกายของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตใจและทางกายผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ 3)เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตใจและทางกายผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 450 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับสมรรถนะทางจิตใจและทางกายของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจำแนกตามโรคประจำตัว ส่วนใหญ่คือ มีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 54.67 จำแนกตามโรคกระดูกและข้อ ส่วนใหญ่ คือ ข้อเข่า คิดเป็นร้อยละ 12.67 จำแนกตามการใช้ยา ส่วนใหญ่ คือ แพทย์สั่ง คิดเป็นร้อยละ 39.33 จำแนกตามพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 86.44 และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็นร้อยละ 82.67 จำแนกตามการออกกำลังกายใน 6 เดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ คือ ออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 84.00 จำแนกตามการออกกำลังกายเป็นประจำ ส่วนใหญ่ คือ ออกกำลังกายทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 37.11 2. รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตใจและทางกายผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุได้แก่ กิจกรรมการเดินจงกรม และกิจกรรมรำไม้พลองแบบประยุกต์ 3. ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตใจและทางกายผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย(= 4.10, S.D.= .50)

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563. จาก http://www.dop.go.th/th/know/1/275.

กิตดา ปรัตถจริยา. (2557). การวิจัยและพัฒนาชุดฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมป์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 3, หน้า 35-42.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

โชติกา สัตนาโค, จุฬาภรณ์ โสตะ (2560). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา ปีที่ 10 ฉบับที่ 4 หน้า 32-47.

ธนิต ลีเลิศ, ประจญ กิ่งมิ่งแฮ, บุษกร สุขแสน. (2562). รูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 หน้า 2608-2609.

บทที่ 1 ภาพรวมสถานการณ์ผู้สูงอายุ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563. จาก http://www.dop.go.th/download/ knowledge/th1531117529-123_3.pdf.

ภูชิต สุวรรณวัฒน์. (2550). ผลการฝึกเดินจงกรมที่มีต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (ออนไลน์). การเปลี่ยนแปลงและการเตรียมตัวเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563. จาก http://hp.anamai. moph.go.th/soongwai/statics/health/prepared/topic001.php.

สุกัญญา พูลโพธิ์กลาง. (2562). ผลของการออกกำลังกายโดยการรำไม้พลองต่อสมรรถภาพทางกายและอาการปวดหลังของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข ปีที่ 33 ฉบับที่ 3, หน้า 95-113.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021