การพัฒนาหลักสูตรและการผลิตสื่อการเรียนการสอนธรรมศึกษา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • พระมหาสมศักดิ์ ธนปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูปลัดประพันธ์ สุรกโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระบุญฤทธิ์ อภิปุณฺโณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระบุญส่ง อโนมปญฺโญ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา
  • พระมหาเอกสิทธิ์ อคฺคปญฺโญ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา
  • พระวรวิทย์ วชิรปญฺโญ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา
  • สมชัย ศรีนอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นุชรี บุญศรีงาม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, การผลิตสื่อการเรียนการสอน, ธรรมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรและการผลิตสื่อการเรียนการสอนธรรมศึกษา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและผลิตสื่อดิจิทัลธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโท         และชั้นเอก สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน  ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดวิมุตยาราม สำนักงานเขตบางพลัด  กรุงเทพมหานคร จำนวน 100  คน  โดยแยกเป็นธรรมศึกษาชั้นตรี จำนวน 40 คน ธรรมศึกษาชั้นโท จำนวน 30 คน และธรรมศึกษาชั้นเอก จำนวน       30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สื่อดิจิทัล ประกอบไปด้วยเนื้อหาธรรมศึกษา แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนประจำวิชา และแบบฝึกหัดประจำบท การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที  (t-test)

            ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนธรรมศึกษา ชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ 84.73/85.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ที่เรียนด้วยหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนธรรมศึกษาที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรธรรมศึกษา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ตามแนวทางการพัฒนาหลักสูตรอย่างเป็นระบบ โดยการใช้ภาษาอธิบายเนื้อหาให้เข้าใจง่าย นักเรียนสามารถอ่านแล้วเข้าใจเองได้ แล้วดำเนินการสร้างสื่อดิจิทัล ชุดแบบฝึกหัด และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนทั้ง 3 ชั้น

References

ปวิชญา เนียมคำ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ปาริฉัตร พลสมบัติ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกอ่านออกเสียงภาษาไทยตามหลักสัทศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกเสียงภาษาไทยและเจตคติต่อการออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้ภาษาเขมรถิ่นไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิสา สรสิทธิ์. (2557). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องไทโส้กุสุมาลย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกุดสะกอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เพ็ญนภา พวงทอง. (2556). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเสริมรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 บนอุปกรณ์แบบหน้าจอสัมผัสระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ศิโรจน์ ศรีโกมลทิพย์ และศิวนิต อรรถวุฒิกุล. (2559). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดีย ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการผลิตสื่อศิลปะสำหรับเด็ก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 9 (1), 1459-1472.

สายฝน หล้าสุดตา. (2558). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยีเรื่องการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมือง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สายสุดา สุขแสง. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศักษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 6 (อนุบาลในฝัน) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. (2561). ขอบข่ายการเรียนการสอนและการออกข้อสอบธรรม ศึกษา ธรรมศึกษาชั้นตรี-โท-เอก ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานแม่กอง ธรรมสนามหลวง.

สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. (2562). สถิติผลการสอบธรรมสนามหลวง ของสนามหลวงแผนกธรรม ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. (2563). สถิติผลการสอบธรรมสนามหลวง ของสนามหลวงแผนกธรรม ปีการศึกษา 2562. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สิรีธร สันแดง. (2559). การออกแบบสื่อบูรณาการเพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และ จินตภาพสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Cuncha, Z. D. (1997). A case study of curriculum development process in nutrition education. Dissertation Abstracts International, 57 (7), 2884-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021