การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการ, แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัย พบว่า สภาพและปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑลพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ (1) สภาพของแหล่งท่องเที่ยวขาดการดูแลรักษา ขาดการฟื้นฟู ปล่อยให้เสื่อมโทรมไปตามสภาพ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะเป็นคนในท้องที่ จะมาในเวลาที่มีงานเทศกาล เมื่อไม่มีงานก็จะปล่อยให้มีสภาพเสื่อมโทรม อีกปัญหาหนึ่งที่มักจะประสบในลักษณะเดียวกัน คือ ด้านการจัดการเรื่องขยะซึ่งแต่ละแห่งเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวมักจะทิ้งขยะไว้ให้เป็นปัญหาของชุมชน ซึ่งจะต้องเป็นภาระในการจัดเก็บขยะ (2) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว บางแห่งไม่ค่อยสะดวกเพราะอยู่ห่างไกลจากชุมชน การเดินทางลำบากบางแห่งมีรถโดยสารเพียงวันละเที่ยว ทำให้ไม่เหมาะกับนักท่องเที่ยวประเภทที่ต้องใช้รถโดยสารยิ่งนักท่องเที่ยวจากต่างชาติยิ่งมีปัญหาเพราะหากจะเหมารถนำเที่ยวก็จะเพิ่มปัญหาด้านค่าใช้จ่ายมากขึ้น (3) สิ่งดึงดูดใจในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล บางแห่งไม่ค่อยมีความน่าสนใจมากนัก นอกจากจะมีงานเทศกาล พอหมดงานก็ไม่มีสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางไป มีบ้างในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นตลาดน้ำ นักท่องเที่ยวจะมาเลือกซื้อสินค้า (4) สิ่งอำนวยความสะดวก ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑลมีน้อยมาก ส่วนมากจะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทางการค้า ที่พักก็มีน้อย แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้มักจะเน้นที่การเดินทางไปกลับในวันเดียว ส่วนกิจกรรมที่เหมาะในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแหล่งท่องเที่ยวยังมีน้อย บางแห่งมีการล่องเรือนำเที่ยว ชมโบราณสถาน ชมวัดวาอาราม แต่ก็เป็นไปเพียงเวลาไม่นานนัก นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวทางธรรมชาติก็ยังพอมาเที่ยวบ้าง ส่วนหนึ่งเป็นรายการที่บริษัทท่องเที่ยวจัดให้ ส่วนที่จะตั้งใจมาเองนั้นยังมีน้อย
สรุปสภาพปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล คือ ขาดการดูแลรักษา ขาดการฟื้นฟู ขาดการสานต่อจากรุ่นสู่รุ่น การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวก็ไม่ค่อยสะดวก สิ่งดึงดูดความสนใจก็มีน้อย
องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยรูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล เป็นการสังเคราะห์จากเอกสาร การลงพื้นที่และการสัมภาษณ์เชิงลึก จึงได้รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคือ “LAMIC : Model” มีที่มาและคำอธิบายดังต่อไปนี้
- L มาจากคำว่า Gracefulness Location สถานที่ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต้องมีความสะอาดเรียบร้อยมีความเหมาะสมเหมาะเจาะ มีความงดงาม และต้องถูกกาลเทศะตามสมควรแก่สถานที่นั้นๆ
- A มาจากคำว่า Picturesque Attraction สิ่งดึงดูดในในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต้องมีความน่าดูน่าศึกษาน่าค้นหา มีความสละสลวย สวยงามน่าเพลิดเพลิน
- M มาจากคำว่า Good Governance Management การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
- I มาจากคำว่า Sustainable Impression หมายถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต้องสร้างความประทับใจ สร้างความซาบซึ้ง ความตรึงใจให้กับชุมนและนักท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- C มาจากคำว่า Cultural Heritage หมายถึงแหล่งท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม ต้องได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนและของประเทศในโอกาสต่อไป
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2539). นโยบายและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พ.ศ. 2539-2540. กรุงเทพฯ: กองนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2561. https://www.mots.go.th/ more_news_new.php?cid=497> (25 Dec 2018)
นาตยา บุตรอยู่. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระราชดำรัส. (2541). ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำรัสประทานแก่คณะกรรมการและพนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน (ด้วงวงศ์). (2560). รูปแบบการจัดการโบราณสถานตามหลักธรรมาภิบาลของชุมชนท้องถิ่นในเขตภาคกลางตอนล่าง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ภัทรา แจ้งใจเจริญ. (2558). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรณีศึกษาชุมชนโอหงิมาจิหมู่บ้านชิราคาว่าโก จังหวัดกิฝุ ประเทศญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา, ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมชาย เลี้ยงพรพรรณ. (2547). การศึกษาศักยภาพของแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในบริเวณทะเลสาบสงขลา. รายงานการวิจัย, ภาควิชาภูมิศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สมชาย สนั่นเมือง. (2541). ชุมชนท้องถิ่นกับการมีส่วนรวมในการพัฒนาการท่องเที่ยว. จุลสารการท่องเที่ยว. จุลสารการท่องเที่ยว. 17 (เมษายน-มิถุนายน).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 15-06-2022 (2)
- 15-06-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.