การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่า อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • รัตน์ชนก มากะพันธ์ สาขาวิชาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา สาขาวิชาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาด, การรับรู้คุณค่า, อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมการรับรู้คุณค่าอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา  จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้แบ่งวิธีการศึกษาเป็น 2 ส่วนคือการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีประชากร คือประชาชนจังหวัดนครปฐม จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 290 คน ได้จากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบ Enter (Enter Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า ระดับการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่า อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม อยู่ในระดับปานกลาง การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีระดับสูงสุดคือ การขายโดยบุคคล รองลงมาคือ การประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรม  ระดับการรับรู้คุณค่าอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม อยู่ในระดับมาก การรับรู้คุณค่าอยู่ในระดับสูงสุดคือ การรับรู้คุณภาพ รองลงมาคือ การเชื่อมโยงตราสินค้า การตระหนักรับรู้ตราสินค้า สินทรัพย์อื่น ๆ ของตราสินค้า และความภักดีกับตราสินค้า ตามลำดับ แนวทางการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม พบว่า การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการณ์ ประกอบด้วย 6 แนวทางได้แก่ 1) ควรสร้างความพร้อมให้กับอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐมในการสร้างเครือข่ายต่าง ๆ ในการโฆษณาให้ประชาชนในจังหวัดนครปฐม และจังหวัดใกล้เคียงได้รับรู้คุณค่าอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐมมากขึ้น 2) ประชาสัมพันธ์วัตถุประสงค์สำคัญของอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐมให้ประชาชนเข้าใจและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น 3) การส่งเสริมการขาย ส่งเสริมเป็นระยะเวลาสั่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้คุณค่าและเข้าใจในผลิตภัณฑ์/ การบริการ 4) การสนับสนุนการขายโดยพนักงานโดยพัฒนาพนักงานให้มีศักยภาพในการบริการให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา  จังหวัดนครปฐมเป็นอย่างดี 5) ส่งเสริมให้อุทยานการอาชีพชัยพัฒนาฯ มีการตลาดทางตรงเพื่อส่งข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนที่สนใจได้รับรู้คุณค่าอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐมได้ดียิ่งขึ้น  6) การจัดกิจกรรมให้เหมาะสมและเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป

References

ฉวีวรรณ ชูสนุก, พูมพงศ์ ภูมมะภูติ, อัมพล ชูสนุก, วทัญญู รัศมิทัต, และอริสาฬา เหลิ่ม. “อิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการต่อคุณค่าตราสินค้า ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของลูกค้าในการเลือกซื้ออาคารชุด บริษัท แอล.พี.เอ็ม.ดีเวลลอป เมนท์ จำหัด (มหาชน).” วารสาร Veridian E-Journl Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ และศิลปะ, (10)1, 233-250.

ชนิดา พุ่มศรี. (2561). “การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์จังหวัดราชบุรี.” Journal of Nanagement Science. Nakhon Pathom Rajabhat University, 5(2), 2-14.

ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา และธีระ เตชะมณีสถิตย์. (2556). รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ.ที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่า ระหว่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตราสินค้า. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ผู้จัดทำวารสาร “มูลนิธิชัยพัฒนา”. (2562). วารสารประจำเดือนธันวาคม 2562.

วัชราภรณ์ ตั้งประดิษฐ์ และไพฑูรย์ เจตธรงชัย. (2558). “การสร้างการรับรู้คุณค่าการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการผ่านเฟซบุ๊กที่มีอิธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางของวัยรุ่นในประเทศไทย.” Social Sciences Research and Academic Journal มหาวิทยาลัยสยาม, 9(27), 91-106.

เหมสุดา สันติมิตร. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์เขตกรุงเทพมหานคร. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรสุธี เหล่าปาสี. (2557). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อธนาคารกรุงศรีอยุธนา จำกัด (มหาชน) จังหวัดกาญจนบุรี. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม. (2562). ผลการดำเนินงาน ประจำปี 2562.

Mike,R.(2005).Performance Auditing of Integrated Marketing Communications (IMC) Actions and Outcomes. [On-line]. Available from http://www.emeraldinsight.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2021