การวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในอจินเตยยสูตร

ผู้แต่ง

  • พระครูวิสุทธิ์ธรรมโสภิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์, หลักพุทธธรรม, อจินเตยยสูตร

บทคัดย่อ

พระพุทธศาสนามีสิ่งที่ไม่รู้มากมาย ในสิ่งที่ไม่รู้นั้น ก็มีสิ่งที่ควรคิดและไม่ควรคิด เรื่องที่ควรคิดนั้น พระพุทธเจ้าได้ตอบไปหลายๆ เรื่องแต่เรื่องที่ไม่ควรคิดนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าคิดต่อแล้ว จะมีผลเสียอย่างไร ท่านจึงละไว้เสีย พระพุทธองค์ทรงสอนว่า อย่าเพิ่งไปสนใจศึกษาเรื่องที่เรียกว่า อจินไตย คือ เรื่องที่ไม่ควรศึกษา ซึ่งมีอยู่ 4 อย่าง อันได้แก่ 1. เรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าหรือพระอริยะ ซึ่งเป็นสภาวะของพุทธะ 2. เรื่องที่เกี่ยวกับสมาธิสูงๆที่เชื่อกันว่ามีจริงและทำให้เกิดอิทธิปาฏิหาริย์ได้ 3. เรื่องที่เกี่ยวกับการทำดีและชั่ว คือ     เมื่อทำดีหรือชั่วอย่างนี้แล้ว จะต้องได้รับผลตามที่ตำราว่าไว้ 4. เรื่องโลกๆ เช่น เรื่องนรกใต้ดิน-สวรรค์บนฟ้า, ชาติก่อน, ชาติหน้า, ตายแล้วไปไหน, ใครสร้างโลก, เป็นต้น รวมทั้งเรื่องต่างๆ ของชาวโลกที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการดับทุกข์ด้วย สาเหตุที่ไม่ให้สนใจเรื่องเหล่านี้ก็เพราะ เรื่องเหล่านี้มันไม่เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและปฏิบัติเพื่อดับทุกข์

References

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

. (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ 1/ยุติ). พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พุทธทาสภิกขุ. (2509). ภาษาคนภาษาธรรม. กรุงเทพฯ: บริษัทเอส.อาร์.พริ้นติ้ง จ่ากัด,

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022