ปรัชญาธรรมกับพุทธศิลปะ

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดวรเมธาวัฒน์ (ประโมณะกัง) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปรัชญา, ธรรม, พุทธศิลปะ

บทคัดย่อ

ปรัชญาธรรมทางวัตถุจากพุทธศิลปะ กล่าวถึงงานพุทธศิลปะประเภทประติมากรรม คือ พระพุทธรูป การสร้างพระพุทธรูปมีคติ ความเชื่อมาจากการสร้างองค์แทนของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานมานานแล้ว พุทธศาสนิกชน ได้สร้างองค์แทนขึ้นมา เพื่อเคารพสักการะ กราบไหว้บูชา ลักษณะการสร้างมีความแตกต่างกัน เมื่อสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา มีการสะท้อนแง่คิดทางปรัชญาธรรมหลายประการเช่น ความบริสุทธิ์ สะอาดหมดจากกิเลสและกองทุกข์ ความหนักแน่น มั่นคง ความเมตตากรุณา ปรัชญาธรรมจากพระพุทธรูปสามารถนํามาปฏิบัติในชีวิตประจําวันของมนุษย์ได้ ส่วนการสร้างเจดีย์ สร้างสถูปต่างๆ สิ่งสําคัญคือเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงพระธาตุของพระอรหันต์ทั้งหลาย เพื่อให้คนได้กราบไหว้บูชา ก่อให้เกิดบุญกุศลในชีวิตแก่ตนเอง เพื่อความหลุดพ้น หรือการเข้าถึงพระนิพพาน เป็นเป้าหมายสําคัญ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมุ่งเน้นเพื่อสะท้อนให้เห็นแนวทางที่จะนําไปสู่ความหลุดพ้น ส่วนปรัชญาธรรมจากงานจิตรกรรมทางพระพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชาดก หรือเหตุการณ์ในพุทธประวัติ รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีของคนในสังคม เป็นภาพสะท้อนของปรัชญาสังคม ที่เกี่ยวเนื่องกับการดําเนินชีวิต พุทธศิลปะนอกจากจะสะท้อน ปรัชญาธรรมแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นคุณค่าของหลักธรรมสําคัญในทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย

References

ขวัญทอง สอนศิริ. (2547). พุทธนาคบริรักษ์ 48 พรรษา สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ: เพชรเกษม การพิมพ์.

จารุวรรณ พึ่งเทียร. (2560). พุทธศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จิตรกรรมและศาสนา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://kanchanapisek.or.th/. [6 เมษายน 2561].

ญาณภัทร ยอดแก้ว. ทัศนคติที่มีต่อการบูชาพระพุทธรูปในสังคมไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : www.goto know.org/posts/. [8 เมษายน 2561].

ทรงพล จังพานิชย์กุล. (2546). พระพุทธรูป มรดกล้ำค่าของเมืองไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์ จํากัด.

ธงชัย สิทธิกรณ์. พระพุทธรูปปริศนาธรรมะ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.birdkm.com/outside-classroom/budha-story/buddha-statue [as เมษายน 2561].

บุญมี แท่นแก้ว. (2545). พุทธปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

บุญเยี่ยม แย้มเมือง. (2537). สุนทรียะทางทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ประพัฒน์ ศรีกูลกิจ. (2559). พุทธปรัชญาเถรวาท. พิษณุโลก : บริษัทโฟกัส พริ้นติ้ง จํากัด.

ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (2554). 5 มหาเจดีย์สยาม. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส.

พระเจดีย์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.phuttha.com [8 เมษายน 2561].

พระมหาธีระวัฒน์ กมลวิบูลย์. (2553). แนวคิดทางพุทธปรัชญาในศิลปกรรมของวัดสุทัศนเทพวรราราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา). (2514). ชุมนมบทความทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2500). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก์ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

. (2532). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฐกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

. (2560). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาอฏฐก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มโน พิสุทธิรัตตานนท์. (2547). สุนทรียวิจักษณ์ในจิตรกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พุทธศิลป์สอนธรรม จิตรกรรมแห่งศรัทธาจากอดีตกาล. [ออนไลน์]. http://goodlife update.com/healthy-mind/inspiration/moem.html. [8 เมษายน 2561].

วัดมงคลรัตนราม แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา. รูปลักษณะพระสถูปเจดีย์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : www. Facebbook.com. [8 เมษายน 2561].

วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์. (2555). ประติมากรรมและจิตรกรรมไทย.ในประมวลสาระชุดวิชาไทยศึกษา หน่วยที่ 13. พิมพ์ครั้งที่ 33. นนทบุรี : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2542). ศิลปะกับชีวิต. กรุงเทพฯ: บริษัท เอสพีเอฟ พริ้นติ้ง กรุ๊ป จํากัด.

.(2547). ทัศนศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: ปิรามิด.

สถิต วงศ์สวรรค์. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรพิทยา.

สมบูรณ์ ดําดี. (2544). การศึกษาพุทธปรัชญาในงานพุทธศิลป์ เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์พุทธศิลป์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สันติ เล็กสุขุม. (2553). งานช่าง คําช่างโบราณ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สุวัฒน์ แสนขัติ. (2547). จิตรกรรมไทย : หอศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เทนเดอร์ ทัช.

เสฐียรพงษ์ วรรรณปก. (2550). คําบรรยายพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

สํานักโบราณคดี กรมศิลปากร. (2550). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สํานักโบราณคดีกรมศิลปากร.

ปริศนาธรรมคําสอนที่แฝงอยู่ในองค์พระพุทธรูป. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: https://www.dek-d.com/board /view/3644247/ [8 เมษายน 2561].

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022