สมรรถนะครูที่ส่งผลต่อทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3
คำสำคัญ:
สมรรถนะของครู, ศตวรรษที่ 21, การพัฒนาผู้เรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 2) ศึกษาสมรรถนะครูที่ส่งผลต่อทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 279 คน จาก 50 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2) แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ของครู 3) แบบประเมินการพัฒนาผู้เรียนของครู 4) แบบประเมินการบริหารจัดการชั้นเรียนของครู 5) แบบประเมินการวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัยของครู 6) แบบประเมินการสร้างความร่วมมือกับชุมชนของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่าย วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis with LISREL : PAL) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ตามการประเมินของครู อยู่ในระดับระดับสูง ลักษณะดังกล่าวนี้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันพอสมควร 2) สมรรถนะของครูที่มีอิทธิพลต่อทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ตามการประเมินของครู ได้แก่ ระดับการพัฒนาผู้เรียนของครู ระดับการจัดการเรียนรู้ของครู และระดับการบริหารจัดการชั้นเรียนของครู สามสมรรถนะนี้อธิบายความแปรปรวนของทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้ร้อยละ 84.80 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ = .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แนวทางการนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ประสานงานกลางการดำเนินงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักกิจการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ธีระ รุญเจริญ. (2554). ก้าวใหม่ การปฏิรูปการบริหาร : แนวคิด ประสบการณ์และการวิจัย. อุบลราชธานี : อุบลกิจออฟเซ็ตการพิมพ์.
ประเวศ วะสี.(2546). ยุทธศาสตร์ทางปัญญาและการปฏิรูปการศึกษาที่พาประเทศพ้นวิกฤต. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิก.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : อาร์แอนด์ปริ้นท์ จำกัด.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สำเริง บุญเรืองรัตน์, สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ และนิคม นาคอ้าย. “การค้นหารูปแบบของผลลัพธ์ทางการศึกษาของนักเรียนที่มีตัวแปรน้อยที่สุดและสามารถนำมาใช้ปฏิบัติในโรงเรียน.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มิถุนายน – ตุลาคม 2550) 1 : 7-13.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2555). ผูบริหารกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษากรุงเทพมหานคร : กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ธนวัฒน์ อรุณสุขสว่าง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. นครปฐม : วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนการศึกษา) มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อำนวย ทองโปร่ง. (เมษายน – มิถุนายน 2553). “การปฏิรูปการศึกษารอบสองกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา.” วารสารรามคำแหง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 27(2): 171 -172.
Pearson Synee. (2014). The Process Secondary Administrators use to Implement Twenty-First Century Learning Skills in Secondary Schools. Thesis of Doctor of Education California: University of Southern California.
Singh, K. Granville, M. and Dicka, S. (2002). “Mathematics and Science Achievement: Effects of Motivation, Interest, and Academic Engagement.” Journal of Educational Research. 95 (6) : 323-331.