กลยุทธ์การสร้างเสริมจิตสาธารณะของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, จิตสาธารณะ, โรงเรียนระดับประถมศึกษา, เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการพัฒนาจิตสาธารณะ 2) สร้างกลยุทธ์การสร้างเสริมจิตสาธารณะ และ 3) ประเมินผลกลยุทธ์การสร้างเสริมจิตสาธารณะของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 331 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 111 คน หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ จำนวน 110 คน หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 110 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ SWOT Analysis และการทำ SWOT Matrix
ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การสร้างเสริมจิตสาธารณะของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก และกลยุทธ์รอง มี 4 กลยุทธ์ ภายใต้กลยุทธ์หลักแต่ละกลยุทธ์หลัก ดังนี้ 1) กลยุทธ์หลัก บริหารเข้มแข็ง เพื่อจิตสาธารณะนักเรียนเพิ่มพูน กลยุทธ์รอง คือ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะและ คุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) กลยุทธ์หลัก สร้างเครือข่ายจิตสาธารณะ กลยุทธ์รองคือ ขยายโอกาสการเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนและ สร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการมีจิตสาธารณะ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2560). กลยุทธ์การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(2), 190-207.
จุฑาพร นาครอด. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพฯ เขต 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เฉลย คงปรีพันธุ์. (2555). การพัฒนากลยุทธการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ประเวศ วะสี. (2541). บนเส้นทางใหม่ การส่งเสริมสุขภาพ อภิวัฒน์ชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
พรทิพย์ สุพรรณกุล. (2553). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนสมรรถนะสูงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3). (2553). ราชกิจจานุเบกษา. (22 กรกฎาคม 2553).
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และ สังคม สัญจร. (2543). สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดือนตุลา.
สิราภรณ์ เทพสง่า. (2561). การมีจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2552). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารการศึกษาสำหรับสถานศึกษาที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตําบล. ดุษฎีนิพนธครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธิรา เภาสระคู. (2557). การพัฒนาระบบการบริหารงานการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(1), 203-204.
สุพรรวษา โสภาพรม. (2556). การศึกษาการส่งเสริมความผูกพันในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวทางการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดระยอง (พ.ศ.2562 – 2565). ระยอง: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง.
เสาวลักษณ์ ยงวานิชจิต. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะให้กับนักเรียนให้กับสถานศึกษายอดนิยมของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Kagan, S. (1994). Cooperative Learning. San Juan Capistrano : Resources for Teach.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.