การประยุกต์ใช้หลักอธิปไตยเพื่อพัฒนาผู้บริหารในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พระปลัดธนา อคฺคธมฺโม (พิมพารัตน์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กฤตสุชิน พลเสน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักอธิปไตย, ผู้บริหาร, สังคมไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาหลักอธิปไตยตามแนวพุทธศาสนาเถรวาท 2.การนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้บริหารในสังคมไทย จากการศึกษาพบว่า อธิปไตยแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ อัตตาธิปไตย หมายถึง ความมีตนเป็นใหญ่ โลกาธิปไตย หมายถึง ความมีโลกเป็นใหญ่ ธัมมาธิปไตย หมายถึงความมีธรรมเป็นใหญ่ ผู้บริหารสังคมไทยควรประยุกต์ใช้หลักอธิปไตยโดยอาศัยธรรม เพราะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมให้คนอยู่และสงบสุข หลักธรรมสำหรับผู้บริหาร คือ พรหมวิหาร 4 อคติ 4 หลักทศพิธราชธรรม อำนาจความเป็นใหญ่ตามหลักอธิปไตยนั้น จะต้องใช้ธรรมาธิปไตยเป็นตัวตั้ง ไม่ว่าบุคคลผู้มีอำนาจจะหนักไปทางอัตตาธิปไตย หรือโลกาธิปไตยก็ตาม ควรที่จะมีธรรมกำกับอยู่เสมอ เพื่อความถูกต้องดีงามในการใช้อำนาจ โดยมีธรรมมาธิปไตยเป็นเกณฑ์ตัดสินหลัก แล้วใช้หลักโยนิโสมนสิการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วจึงตกลงใจใช้อำนาจนั้นต่อไป

References

กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. เล่มที่ 10, 11, 15, 20, 21, 29. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ กรมการศาสนา.

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (ม.ป.ป.). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน สำนัก ธรรมศาสตร์และการเมือง ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จันทิมา เกษแก้ว. (2540). การเมืองการปกครอง. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ทวี ผลสมภพ. (2534). ปัญหาปรัชญาในการเมืองของโลกตะวันออก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2540). ทรรศนะทางการเมืองของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สามัคคีสาส์น.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนตรี ธีรธรรมพิทักษ์. (2540). จริยธรรมกับภาวะผู้นํา : ศึกษาทัศนะของนักวิชาการรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย ที่มีต่อผู้นําทางการเมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).

วิษณุ เครืองาม. (2523). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงสุทธิการพิมพ์.

อานนท์ อาภาภิรม. (2545). รัฐศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022