ความต้องการของผู้ปกครองกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในตำบล-อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • ธารินี กิตติกาญจนโสภณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ศุภชัย ประศิริ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • อาริยา ภูวคีรีวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ความต้องการ, สื่อดิจิทัล, การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ปกครองกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบล-อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตรและเพื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองที่มีอายุแตกต่างกัน เกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบล-อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลบึงนาราง จำนวน 59 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลบึงนาราง มีความต้องการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กอยู่ในระดับมาก (2) ผู้ปกครองที่มีอายุแตกต่างกันมีความต้องการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลบึงนาราง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ต้องการให้บุคลากรครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยมีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส รักเด็กและพูดจาสุภาพ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี).กรุงเทพฯ: ครุสภาลาดพร้าว.

เฉิดโฉม บุณยะโหตระ. (2550). ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ทัศนีย์ น้อยสอน. (2557). ความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดฟ้าเวียงอินทร์ ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ธนกร ระวังสัจ. (2549). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยหลักสูตรภาษา อังกฤษโรงเรียนอนุบาลสุรีลักษณ์ตำบลไทรม้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

นงค์นุช พันธ์นิกุล. (2546). ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชน อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นัจนันท์ ศิริวรกุล. (2553). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ประยุทธ์ จันทร์โอชา. (2559). แนวนโยบายการจัดการศึกษาในองค์กรปกครองท้องถิ่นของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา. กรุงเทพฯ: เซ็นจูรี

ไพรัตน์ อยู่สมบูรณ์. (2551). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการระดับอนุบาลศึกษาของโรงเรียนวัดมงคลวรารามสังกัดสำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. [Online]. Available : http://kym 088.blogspot.com/ [2551, ธันวาคม 16]

โพธิญาณ ก้านจักร. (2547). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนบ้านปะคำดง อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

รุ่งทิวา จองดี. (2557). ความคิดเห็นของผู้ปกครองเด็กเล็กเกี่ยวกับการบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

สุวิน ศรีเมือง. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน: หนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12 (พิเศษ, ต.ค. 2561), 174-183.

สุนทรี ศักดิ์ศรี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฎิบัติงานของครู โดยมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีฯ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 7 (ฉบับที่ 1, ม.ค.-มิ.ย. 2561), 125-143.

อมลวรรณ วีระธรรมโม. (2550). สภาพปัจจุบันและความคาดหวังของผู้ปกครองต่อครูปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยเขตเทศบาลนครสงขลา. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022