ศึกษากลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ของนิสิตชาวต่างชาติที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง

ผู้แต่ง

  • กัญญ์วราพัชญ์ หอมชื่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วีระกาญจน์ กนกกมเลศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การเรียนรู้, ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ, นิสิตต่างชาติ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของนิสิตชาวต่างชาติที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา ส่วนกลาง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่นิสิตชาวต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง จำนวน 120 รูป/คน และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน ค่า t-test ค่า F-test และค่า LSD

ผลการวิจัย พบว่า 1. จากการศึกษากลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของนิสิตชาวต่างชาติ ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง พบว่า 1) นิสิตชาวต่างชาติ ใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ด้านกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาโดยตรง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 2) นิสิตชาวต่างชาติ ใช้กลยุทธการเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ด้านกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาโดยอ้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.95 2. จากการเปรียบเทียบผลการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 1) นิสิตชาวต่างชาติใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ด้านกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาโดยตรง ที่มีเพศ ชั้นปีที่กำลังศึกษา และประเทศภูมิลำเนา แตกต่างกัน ใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาโดยตรง ไม่แตกต่างกัน นิสิตชาวต่างชาติที่มีอายุ แตกต่างกัน ใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาโดยตรง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) นิสิตชาวต่างชาติใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ด้านกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาโดยอ้อม ที่มีเพศ ชั้นปีที่กำลังศึกษา และประเทศภูมิลำเนา แตกต่างกัน ใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาโดยตรง ไม่แตกต่างกัน นิสิตชาวต่างชาติที่มีอายุ แตกต่างกัน ใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาโดยอ้อม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

จองบก แช (Jung Bog Choi). (2543). ความสามารถในการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาเกาหลี แผนกภาษาไทยชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยปูซาน ภาษาและกิจกรรมต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชนิกา คำพุฒ. (2545). การศึกษาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาจีนวิชาเอกภาษาไทยชั้นปีที่ 4 สถาบันชนชาติยูนนาน สาธาณรัฐประชาชนจีน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ผจงกาญจน์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2538). ความรู้ทางภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุวดี มากพันธ์. (2555). ผลการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง ดู พูดของนักเรียนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักทะเบียนและวัดผล. (2563). สถิตินิสิตต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2563. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อาณัติ วงศ์โกสิตกุล. (2536). การเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาไทยกับภาษาอังกฤษเพื่อการสอนภาษาไทยแก่ชาวต่างประเทศ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1: 86-93.

Wongyai Wimonwan. (2016). An Analysis of Thai Langguage Learning Strategies Used by Non-Native Speakers in Chiang Rai Province. Master of Arts in English. Chiag Rai Rajabhat University.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022