ความเพียรและคติธรรมในมหาชนกชาดก

ผู้แต่ง

  • พระครูสังฆรักษ์สุริยะ ปภสฺสโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาพจน์ สุวโจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญร่วม คำเมืองแสน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูวินัยธร เจริญ ทนฺตจิตฺโต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คติธรรม, ความเพียร, มหาชนกชาดก

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออภิปรายคติธรรมเรื่องความเพียรที่ปรากฎในมหาชนกชาดก  ผลการศึกษาพบว่า คติธรรมในมหาชนกชาดก เกี่ยงข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีเหตุปัจจัยในการส่งเสริม หรือขัดขวางในการบำเพ็ญบารมี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเป็นสำคัญว่า รู้เข้าใจและปฏิบัติตามหลักคุณธรรมหรือไม่ มีความคิด ความเชื่อและการปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาหรือไม่ วุฒิภาวะของบุคคล  การสั่งสมในอดีตชาติ ความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำความดี และความรับผิดชอบ เป็นต้น และเมื่อบำเพ็ญบารมีตามแนวทางโพธิสัตว์จะทำให้การดำเนินชีวิตในปัจจุบัน มีความทุกข์ลดลง มีความสุขกาย และสุขใจ ในมิตินี้แสดงให้เห็นความสำคัญของวิริยะบารมีอันเป็นแนวคิดสำคัญของคติธรรมในมหาชนกชาดก เป็นกลวิธีการสื่อแนวคิดให้ตระหนักว่าความปิติสุขจากการบวชของพระมหาชนกในที่นั้น ความเพียรของพระมหาชนกชาดกเรื่องนี้ให้คติว่า ความพากเพียรนำไปสู่ความสำเร็จ ได้นั้นต้องเป็นความเพียร ที่ประกอบด้วย ความรัก ความเข้าใจ และความมุ่งมั่น ต่องานอย่างแท้จริง

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. เล่มที่ 11, 14, 19, 20, 21, 23, 27, 28, 31 และ 35. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

คณะกรรมการแผนกตำรา. (2529). อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวินีฏีกา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ณัฐกาญจน์ นาคนวล. (2560). พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก : การสืบทอดและการสร้างสรรค์วรรณคดีชาดกในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย. วารสารไทยศึกษา.

ปรีชา ช้างขวัญยืน และวิจิตร เกิดวิสิษฐ์. (2533). หนังสือเรียนสังคมศึกษาส 019 พระพุทธศาสนาสำหรับ มัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พระคันธสาราภิวงศ์ (แปล). (2546). อภิธัมมัตถสังคหและปรมัตถทีปนี. พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลออกเมรุ พระราชทานเพลิงศพ พระธรรมราชานุวัตร. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยรายวัน กราฟฟิคเพลท.

พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2548). อธิบายหลักธรรมตามหมวดจากนวโกวาท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 46. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

พระมหาดนัย ธมฺมาราโม. (2560). วิเคราะห์เรื่องศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(2) (ฉบับพิเศษ).

มหามังคลาจารย์, พระ. (2521). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: คิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.

. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากลอังกฤษ-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

เรณู ศรีภาค์. (2544). การวิเคราะห์บารมีในพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วศิน อินทสระ. (2544). อธิบายมิตินทปัญหา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณาคาร.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2524). ทศบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาตะวันออก, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสถียร โพธินันทะ. (2548). ปรัชญามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022