ไตรสิกขาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ สุทธิพรโอภาส มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • บุญร่วม คำเมืองแสน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาพจน์ สุวโจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ไตรสิกขา, การปฏิบัติตน, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ไตรสิกขากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่า หลักไตรสิกขา หมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการศึกษาและปฏิบัติ เพื่อฝึกอบรม กาย วาจา จิตใจและสติปัญญาให้สูงขึ้น โดยพัฒนาด้านพฤติกรรม คือ ศีล เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่สร้างความเดือดร้อน และพัฒนาด้านจิตใจ คือ สมาธิ เพื่อให้เกิดสติสัมปชัญญะในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงาม เกิดปัญญาสามารถเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกของโรคโควิด-19 มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ด้านสุขภาพกาย จิต อารมณ์ สังคมในปัจจุบัน

          ไตรสิกขาจึงมีความสัมพันธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิต หากบุคคลหมั่นศึกษาและฝึกฝนปฏิบัติตามหลักธรรมไตรสิกขา พัฒนาศีลให้สะอาด ระบบการอยู่ร่วมกันใหม่ พัฒนาจิตให้บริสุทธิ์ มีสติ ระลึกรู้ก่อนและขณะที่คิด พูดหรือกระทำ มีจิตสํานึกใหม่ พร้อมเผชิญปัญหาอย่างมีสติ เกิดเป็นปัญญา มีวิธีคิดใหม่ รอบรู้ สามารถแก้ปัญหาตนเองในครอบครัวและสังคม นอกจากนี้สมาธิยังส่งผลต่อการ มีสุขภาพทางร่างกายและ ทางจิตใจที่ดี ไตรสิกขาจึงพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่มีสมบูรณ์ทั้งสุขภาพกาย จิต อารมณ์ สังคม และปัญญา สามารถปรับตัวได้ดี รับมือกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม มีความสงบสุขในสังคม เกิดสันติสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต

References

กาญจนา หาญศรีวรพงศ์ และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2562). สมาธิกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 19 (1).

คุณาวุฒิ เดชเสถียร. (2557). การพัฒนาดชันีคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครมูุสลิมในภาคกลาง.วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมป์. 9 (2)

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ผุสดี โตสวัสดิ์. (2562). การบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. 24 (2).

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2535). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

.(2542). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพงศ์พิณันป์ ปิ่นพาน. (2564). แนวความคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา. วารสารศิลปการจัดการ. 5 (1).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

.(2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวทิยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). อายุยืนอย่างมีคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์สวย จำกัด.

สมบูรณ์ วัฒนะ. (2560). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการฝึกสมาธิตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษา.11 (1) 2560.

สุมานพ ศิวารัตน์. (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยไตรสิกขา. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. ปีที่ 8 (1)

Campbell, A. (1976). Subjective measures of well-being. American Psychologist.

ESCAP. (1990). Guidelines on Methodological Approaches to the Conduct of a Regional Survey of the Quality of Life as an Aspect of Human Resources Development. New York: McGraw-Hill.

Larr, D.V. (2007). Improving employee Quality of working life. Summary report and data analysis of the Quality of working life survey carried out for University of Essex.

Maslow, A.H. (1970). Motivation and Personality. 2ND. ed., New York: Harper & Row.

Merton, H.C. (1977). A Look at factors affecting the quality of working life. Monthly Labour Review. No.100 (October 1977): 55.

UNESCO. (1981). Quality of life. An Orientation of Population Education. Bangkok: UNESCO.

World Health Organization. (1994). WHOQOL study protocol..(WHO).

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022