สิทธิสตรีกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • พระมหาวุฒิชัย วุฑฒิชโย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ระยอง
  • พระมหาบุญรอด อมรทตุโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ระยอง
  • กฤษณะ เชี่ยวเวช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ระยอง
  • พระครูเกษมอรรถากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ระยอง

คำสำคัญ:

สิทธิสตรี, ระบอบประชาธิปไตย, บทบาทสตรี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องสิทธิสตรีกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการ ศึกษาสิทธิเสรีภาพของสตรีในภาคประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย กับสิทธิของสตรีทางการเมืองภายใต้การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จากบทความชี้ให้เห็นว่าสิทธิสตรีในภาคประชาชนยังคงถูกจำกัดสิทธิในบางประเทศ เช่น สตรีไม่สามารถเข้ารับการศึกษา ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น ไม่สามารถ เข้าศาสนบางแห่ง รวมถึงสถานะของสตรีเป็นรองจากบุรุษ ในทางกลับกันบางประเทศสตรีมีสิทธิเท่าเทียมกับบุรุษทั้งในด้านการศึกษา หน้าที่การงานและเสรีภาพในการดำรงชีวิต อันเนื่องมาจากการยอมรับของสังคมในเรื่องความเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตามสิทธิสตรีในการเป็นผู้นำประเทศในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย พบว่าสตรีบางส่วนสามารถก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งสำคัญในระดับผู้นำประเทศได้ โดยสตรีบางท่านสามารถดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลายาวนานและบางท่านได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง 2-3 สมัย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการเป็นผู้นำและการมีบทบาททางการเมืองของสตรี แต่อย่างไรสังเกตุได้ว่าสัดส่วนทางการเมืองระหว่างบุรุษกับสตรี พบว่าสตรีดำรงตำแหน่งทางการเมืองน้อยกว่าบุรุษถึง 3 เท่า ทั้งนี้ปัญหาของสิทธิสตรีล้วนเกิดจากค่านิยม ความเชื่อมั่นและการยอมรับความสามารถของสตรีในสังคม ทำให้สตรีไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้นบทความวิชาการชิ้นนี้ได้แสนะแนะแนวทางในการส่งเสริมสิทธิสตรี นั้นควรเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนทัศนคติทางสังคม ให้ความสำคัญกับสิทธิสตรีมากขึ้น อีกทั้งควรระบุตำแหน่งที่นั่งของสตรีที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง พร้อมทั้งสนับสนุนให้สตรีก้าวมาเป็นผู้นำประเทศด้วย เพื่อความเท่าเทียมกันทางเพศและความเท่าเทียมในสิทธิมนุษยชน

References

ขวัญตาเบ็ญจะขันธ์. (2558). ปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันในการเป็นผู้นำสตรีกรณีศึกษาจังหวัดที่มีนายกเทศมนตรีหญิงดำรงตำแหน่งครบทั้ง 3 ระดับ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 8(3): 297-337.

จิตรา แสงวัฒนาฤกษ์. (2563). บทบาทผู้นําสตรีจิตอาสาเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสันศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8 (4): 1622-1638

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. (2549). สิทธิของสตรีกับเสียงทางการเมืองในประเทศไทย เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ เป้าหมายหลักที่ 3 : ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและส่งเสริมบทบาทสตรี. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ.

ชยาภรณ์ จตุรพรประสิทธิ์และคณะ. (2560). บทบาทผู้นําสตรีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา เทศบาลนครแหลมฉบัง จ.ชลบุรี. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 9(3): 581-611.

ธนพัฒน์ จงมีสุข. (2556). การศึกษาการยอมรับบทบาทผู้นำสตรีในองค์กรปกครองท้องถิ่น กรณีศึกษาอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 5 (2): 60-74.

ปรรณวัฒน์ ชูวิเชียร. (2562). บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักการเมืองสตรีในรัฐสภา. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา 9 (3): 96-103.

ไพรินทร์ เชื่อมชิต. (2546). บทบาทสตรีต่อการจัดการลุ่มนํ้า. สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภัทรพงษ์ ธํามรงค์ปรีชําชัย, ธีรวรรณ ธีระพงษ์ และวีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร. (2563). อิทธิพลของความเมตตากรุณาต่อตนเองท่ีมีต่อความกรุณาต่อผู้อื่นและความสุขของจิตอาสาในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล. วารสารมนุษยศาสตร์สาร 21 (2): 84-102.

วชิรพงศ์ ศรีเจริญวงศ์. (2564). การส่งเสริมบทบาทสตรีในทางการเมือง : เปรียบเทียบกับต่างประเทศ. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 12 (2): หน้า73-88.

วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2556). การเรียนการสอนสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมสิทธิสตรีในสังคมประชาธิปไตย.วารสารครุศาสตร์ 41 (4): 214-228.

วัลลภา นีละไพจิตร. ความเสมอภาคของหญิงชายในมุมมองของศาสนาอิสลาม. http://km.moi.go.th/ km/18_gender/gender7.pdf.

วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ. (2539). กรณีศึกษาคอลัมน์ที่บ่งชี้แนวสตรีนิยมในนิตยาสารสตรี. วารสารมหาวิทยาลัยบูรพา.1 (2): 64-70.

สมศักดิ์ อัศวศิริศิลปะ. (2561). ปัจจัยแห่งความสําเร็จในการเข้าสู่วงการการเมืองของนักการเมืองสตรีไทย. รัฏฐาภิรักษ์, 60(3): 34-46.

โสภิดา วีรกุลเทวัญ. (2563). แนวคิดสตรีนิยมและประสบการณ์กับอาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์. วารสารจุดยืน, 7(1): 39-48.

อารียา หุตินทะ. (2557). เมื่อสตรีตามหาประชาธิปไตยในสังคมปิตาธิปไตย. วารสารอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร 36 (1): 68-95.

อัจฉราพรรณ สิ่วไธสง. (2562). ภูมิหลังแรงจูงใจและบทบาทของนักการเมืองสตรีท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการเมืองการปกครอง. 9(2): 78-92.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022