อิทธิพลของหลักพุทธธรรมในการปกครองและภาวะผู้นำที่มีต่อพฤติกรรม อันพึงประสงค์ของผู้นำในชุมชนเขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำ บ้านดงป่างิ้ว ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

จังหวัดเชียงใหม่, พฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้นำในชุมชนเขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำ, ภาวะผู้นำ, อิทธิพลของหลักพุทธธรรมในการปกครอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านเพศมีอิทธิพลต่อหลักพุทธธรรมในการปกครอง ภาวะผู้นำ และพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้นำ ในชุมชนเขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำ บ้านดงป่างิ้ว ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และ2) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของหลักพุทธธรรมในการปกครองและภาวะผู้นำที่มีต่อพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้นำ ในชุมชนเขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำ บ้านดงป่างิ้ว ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการวิจัยเชิงสำรวจของผู้นำในชุมชนเขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำ ที่เป็นประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน (เท่านั้น) โดยใช้แบบสอบถาม และใช้สถิติการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยด้านเพศไม่มีอิทธิพลต่อหลักพุทธธรรมในการปกครอง ภาวะผู้นำ และพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้นำ ในชุมชนเขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำฯ ระดับพฤติกรรมของปัจจัยในภาพรวมด้านผู้นำ ภาวะผู้นำ และหลักพุทธธรรมในการปกครองอยู่ในระดับปานกลาง ความแปรปรวนของการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณของปัจจัยในภาพรวมที่ส่งผลต่ออิทธิพลของหลักพุทธธรรมในการปกครอง ภาวะผู้นำ และพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้นำอย่างมีนัยสำคัญ และความถดถอยเชิงพหุคูณของปัจจัยในภาพรวมอิทธิพลของหลักพุทธธรรมในการปกครองที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำ และพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้นำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.01 โดยการทำนายผลการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนของการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณยืนยันว่าตัวแปรอิสระ (เพศ) ไม่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ    

References

ณิชามล ฟองน้ำ. (2557). การศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลพฤติกรรมผู้นำและการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิผลในการทำงาน. การค้นคว้าอิสระ, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประยงค์ แสนบุราณ. (2557). หลักธรรมในการปกครองของพระพุทธศาสนา. บทความวิชาการ, วารสาร

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ม. ขอนแก่น, 31 (3) ก.ย. - ธ.ค. 57.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). ทางออกจากระบบเศรษฐกิจที่ครอบงําสังคมไทย พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก. 2554.

มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ด่านสุทธิการพิมพ์.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2550). มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิภาดา คุปตานนท์. (2544). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2553). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุทัย หิรัญโต. (2523). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

Bryman, A. (1992). Charisma and Leadership in Organizations. London : Sage.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.

Cronbach, L. J. (1954). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Covey, Stephen R. (2007). The 7 Habits of Highly Effective People Powerful Lessons in Personal Change. New York: A Fireside Book.

DuBrin, A .J.(2004).Leadership Research Findings, Practice, and Skills. New York: Houghton Mifflin.

Ivancevich, J.M., Konopaske , R.,& Matteson ,M.T. (2008). Organization Behavior and Management (8th ed.). New York: McGraw -Hill.

Kreitner, R. (1985). Organizational Behavior Modification and beyond. Glenview, Il ScottForesman.

Likert, R. (1981). Likert scale. Retrieved April 11, 2022, [Online], Source data : from

www.bestwitted.com/? tag=likert – scale.

White, R., & Lippitt R. (1953). Leader Behavior and Member Reactions in Three “Social climates” in Group Dynamic. Evanston ll, Row Peterson.

เผยแพร่แล้ว

30-11-2024