คุณภาพชีวิตคนพิการของเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • กุลิสรา พูลสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • สุปัน สมสาร์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, คนพิการ, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตคนพิการในเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเป็นคนพิการที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป ในเขตเทศบาลตำบลหนองแวง โดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 215 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตคนพิการในเทศบาลตำบลหนองแวงอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครโดยจำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา

ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตคนพิการในเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.21, S.D.= 0.66) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านจิตใจ (=3.92, S.D.= 0.73) รองลงมา คือ ด้านสิ่งแวดล้อม (=3.70, S.D.= 0.66) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสุขภาพร่างกาย (= 3.01, S.D.= 0.26) การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตคนพิการในเทศบาลตำบลหนองแวงอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครโดยจำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา โดยภาพรวมพบว่า เพศ อายุ และระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกัน แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของเทศบาลตำบลหนองแวงอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ได้แก่ จัดอบรมการบำบัดทางแพทย์แผนไทยเบื้องต้นให้แก่คนพิการเพื่อบริการกันเองในชุมชนของตนเอง กรณีเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

References

กรรณิการ์ ศรีวารีรัตน์. (2551). โมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตของครู. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2558). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://dep.go.th/th/page.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณฤทัย เกตุหอม. (2555). ความต้องการได้รับสวัสดิการทางสังคมของคนพิการในเขตอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

วรรณา กุมารจันทร์. (2543). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

อนัญญา เจียนรัมย์. 2557. ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

World Health Organization (WHO). (1994). Community based rehabilitation and the health care referral services : a guide for programme managers. Geneva, Switzerland.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022