ปัจจัยที่มีผลต่อการเสพยาเสพติดในพื้นที่อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
สารเสพติด, ปัจจัยเสี่ยง, การใช้เสพสารเสพติด, เยาวชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสพยาเสพติด ในพื้นที่อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เยาวชนในพื้นที่อำเภอปทุมรัตต์ โดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเสพยาเสพติดประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการเสพยาเสพติด ของประชาชนในพื้นที่อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยจำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเสพยาเสพติด ในพื้นที่อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.40, S.D.= 0.68) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านครอบครัว (= 3.48, S.D.= 0.80) รองลงมาคือปัจจัยด้านสังคม (= 3.36, S.D.= 0.86) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (= 3.35, S.D.= 0.71)
การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการเสพยาเสพติด ในพื้นที่อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยจำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา โดยภาพรวมพบว่า เพศ อายุ และระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการเสพยาเสพติดของประชาชนในพื้นที่อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ ส่งเสริมการจัดอบรม หรือกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ต่อต้านการใช้ยาเสพติดทุกชนิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างความตระหนักในการใช้ชีวิตของกลุ่มตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม
References
กรมการแพทย์. (2556). คู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์บริการสุขภาพชุมชน. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
จักรี สุนทโร. (2545). ปัจจัยทางด้านครอบครัวที่มีผลต่อการกระทำความผิดในคดียาเสพติด (ยาบ้า) ของเด็กและเยาวชนชายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
มณีรัตน์ ธีระวัฒน์. (2534). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดกาณจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต, สาขาสุขศึกษา, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุภร ชินะเกตุ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิมล พิริยะปัญญา. (2546). ผลของการฝึกทักษะกีฬาวอลเลย์บอลที่มีต่ออัตมโนทัศน์และปัญหาการปรับตัว ของวัยรุ่นติดยาเสพติดในสถานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาพลศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สราวุธ สอนสนาม. (2548). มูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2548). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547-2556. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
Platonova, Elena A, PhD; Hernandez, S Robert, DrPH; Moorehouse, R Brett, FACHE. (2013). Innovative Human Resource Practices in U.S. Hospitals: An EmpiricalStudy. vol. 58: 290-301.
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.