การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักภาวนา 4 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • ชิสา กันยาวิริยะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เมธา หริมเทพาธิป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ภาวนา 4, พุทธปรัชญา, เถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาวนา 4 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท วิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากพระสุตตันตปิฎก เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับหลักภาวนา 4 ผลการวิจัยพบว่า ภาวนา 4 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นหลักการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็นเหตุและเป็นผล ส่วนที่เป็นเหตุ คือ หลักภาวนา 4 อันเป็นส่วนของมรรคหรือทางแห่งความพ้นทุกข์ เป็นทางแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 ด้าน ได้แก่ 1) กายภาวนา ได้แก่ การพัฒนาพฤติกรรมทางกายและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดสุขภาวะที่สมดุล 2) ศีลภาวนา ได้แก่ การพัฒนาความประพฤติทางกายและวาจาเพื่อให้สังคมเกิดสันติสุข 3) จิตตภาวนา ได้แก่ การพัฒนาจิตใจเพื่อให้เกิดสุขภาวะที่มั่นคง มีพลังขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตให้พัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป 4) ปัญญาภาวนา ได้แก่ การพัฒนาปัญญาให้เข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง สามารถแยกแยะ ประเมินค่าสิ่งต่างๆ และสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ส่วนที่เป็นผล คือ หลักภาวิต 4 เกิดขึ้นหลังจากได้เจริญมรรคภาวนาจนสำเร็จสมบูรณ์ จึงทำให้บุคคลนั้นเป็น “ภาวิต” คือ คนที่พัฒนาแล้ว แยกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ภาวิตกาย ได้แก่ มีกายที่พัฒนาแล้ว 2) ภาวิตศีล ได้แก่ ศีลพัฒนาแล้ว 3) ภาวิตจิต ได้แก่ จิตใจที่พัฒนาแล้ว 4) ภาวิตปัญญา ได้แก่ มีปัญญาพัฒนาแล้ว

References

การศาสนา, กรม. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

จินุกูล หลวงอภัย. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนาธรรมของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ. ปีที่ 1. ฉบับที่ 2. (พฤษภาคม-สิงหาคม).

พระครูธรรมศาสนโฆสิต (ภิญโญ ปานดำรงค์), เมธา หริมเทพาธิป, กีรติ บุญเจือ. (2560). การตีความมรรคมีองค์ 8 ตามหลักหลังนวยุคสายกลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. ปีที่ 13. ฉบับที่ 2. (พฤษภาคม-สิงหาคม).

พระครูปทุมภาวนาจารย์ วิ. และเสริมศิริ อัครพุฒิพันธ์. (2562). หลักภาวนา 4 กับการพัฒนาปรีชาเชิงอารมณ์ของวัยรุ่นไทยในสังคมยุคดิจิทัล. วารสารพุทธจิตวิทยา. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

.(2552). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

.(2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระภูชิสสะ ปญฺญาปโชโต. (2562). การสร้างกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ในตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน).

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022