การบริหารธุรกิจตามหลักพรหมวิหารธรรม : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน
คำสำคัญ:
การบริหารธุรกิจ, พรหมวิหารธรรม, มั่นคงและยั่งยืนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พรหมวิหารธรรม และเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจเชิงพุทธ ผลการศึกษาพบว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพรหม ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เมื่อนำหลักธรรมนี้มาประยุกต์ใช้สำหรับการบริหารธุรกิจบนพื้นฐานกระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง จะช่วยให้การทำธุรกิจมีเจตนาเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนรวม การผลิตสินค้าและบริการและนวัตกรรมทางธุรกิจจะคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เว้นจากการเบียดเบียน ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค คำนึงถึงคุณภาพและความคุ้มค่า รวมถึงการได้รับคุณภาพชีวิตที่ดี มีใจคิดเกื้อกูลและแสวงหาการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน มีความยินดีต่อเพื่อนผู้ทำธุรกิจด้วยกัน มีความรักความใส่ใจต่อผู้ร่วมงาน หุ้นส่วน คู่ค้า มีใจเป็นธรรมในการบริหารจัดการธุรกิจ มีระบบบรรษัทภิบาลเพื่อรักษาสิทธิและความชอบธรรมให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการทางธุรกิจทุกท่าน รวมไปถึงการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจเชิงพุทธ ได้แก่ การทำธุรกิจด้วยความรักความใส่ใจ (เมตตา) การเกื้อกูลและแบ่งปัน (กรุณา) การสื่อสารให้เกิดสุขภาวะแก่สังคม (มุทิตา) และการให้ความชอบธรรมด้วยการปกป้อง คุ้มครอง และดูแล (อุบกขา) แกนหลักสำคัญของการบริหารธุรกิจตามหลักพรหมวิหารธรรมจึงได้แก่ “การเอาใจเขามาใส่ใจเรา” โดยขับเคลื่อนให้ครบใน 3 ส่วน คือ (1) ส่วนของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (2) ส่วนของสินค้าและบริการ (3) ส่วนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารธุรกิจตามหลักพรหมวิหารธรรมเป็นการทำให้งานธุรกิจกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
References
การศาสนา, กรม. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา.
เนตรชนก โพธารามิก. (2561). พรหมวิหารกับคุณค่าในสังคมไทย. วารสารศิลปะการจัดการ ปีที่ 2. ฉบับที่ 1. (มกราคม-เมษายน).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552ก). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.
.(2552ข). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.
เมธา หริมเทพาธิป. (2563). การจูงใจตนเองในแนวทางหลังนวยุค. วารสารพุทธมัคค์. ปีที่ 5. ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน).
ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.
วินัย ภูมิสุข และณัฏฐกานต์ หงส์กุลเศรษฐ์. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพรหมวิหาร. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. ปีที่ 7. ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม).
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.