การศึกษาเชิงวิเคราะห์พรหมวิหารธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เมธา หริมเทพาธิป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พรหมวิหารธรรม, พุทธปรัชญา, เถรวาท

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พรหมวิหารธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษาพบว่า พรหมวิหารธรรมเป็นธรรมเครื่องอยู่ของพรหม ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เมื่อวิเคราะห์ความหมายของพรหมวิหารธรรม พบว่า มีความหมายหลายนัย คือ 1) เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพรหม 2) เป็นธรรมเครื่องอยู่ของผู้ประเสริฐ 3) เป็นธรรมเครื่องอยู่ของผู้เป็นใหญ่ เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่า 1) เมตตา คือ ความรัก ความปรารถนาดี ต้องการให้มีความสุข 2) กรุณา คือ ความสงสาร ต้องการช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ 3) มุทิตา คือ ความยินดี เมื่อประสบกับความสุขความสำเร็จ 4) อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปตามอคติ ได้แก่ อคติเพราะพอใจ อคติเพราะไม่พอใจ อคติเพราะกลัวและอคติเพราะหลง

References

การศาสนา, กรม. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

เนตรชนก โพธารามิก. (2561). พรหมวิหารกับคุณค่าในสังคมไทย. วารสารศิลปะการจัดการ ปีที่ 2. ฉบับที่ 1. (มกราคม-เมษายน).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.

พระครูวิวัฒน์ธรรมานุกูล (อ๊อด ธมฺมปาโล) และคณะ. (2563). การพัฒนาคุณลักษณะพรหมวิหารธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7. ฉบับที่ 1. (มกราคม-เมษายน).

พระ ดร. พี วชิรญาณมหาเถระ. (2559). สมาธิในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023