บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์

ผู้แต่ง

  • พระมหายุทธพิชาญ ทองจันทร์ นักศึกษาปริญญาเอก รป.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ภักดี โพธิ์สิงห์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

บทบาทของพระสังฆาธิการ, การบริหารกิจการคณะสงฆ์, ด้านการสาธารณูปการ

บทคัดย่อ

บทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์หรือสถาบันสงฆ์ในสมัยพุทธกาลนั้นพระพุทธเจ้าจะทรงดูแลด้วยพระองค์เอง ทรงอยู่ในฐานะประมุขและทรงให้ความสำคัญเสมอภาคในการบัญญัติสิกขาบทต่างๆ พระองค์จะทรงทำท่ามกลางสงฆ์ สังฆกรรมต่างๆ ที่กระทำต้องได้รับเสียงเอกฉันท์จากคณะสงฆ์จึงจะสามารถดำเนินต่อไป ทำให้พระพุทธศาสนาเผยแผ่ไปอย่างรวดเร็วสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงทิ้งไว้เป็นมรดกมาถึงปัจจุบันก็คือ พระธรรมวินัยซึ่งจะเป็นหลักในการที่สถาบันสงฆ์จะใช้เป็นสื่อในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับชาวโลกต่อไป และจะเป็นสิ่งกำหนดบทบาทหรือจุดยืนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างสงฆ์กับสังคมชาวโลกในปัจจุบันและอนาคต

การบริหารกิจการคณะสงฆ์ จึงเป็นภาระหน้าที่โดยตรงของพระสังฆาธิการที่มีความสำคัญต่อพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ดังเช่นที่ความเรียบร้อยดีงามของประเทศชาติเกิดได้จากความสำเร็จของการบริหารจัดการของแต่ละชุมชน ฉันใด ความเรียบร้อยดีงามของพระสงฆ์ก็เกิดได้จากความสำเร็จของการบริการจัดการกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในแต่ละระดับฉันนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาถึงขอบข่ายของการบริหารงานนี้ ซึ่งหมายถึงงานทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านการสาธารณสงเคราะห์ และด้านการสาธารณูปการ

References

กรมการศาสนา. (2522). คู่มือครูจริยศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

.(2528). คู่มือการบริหารคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

.(2535). วินัยบัญญัตินักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

.(2540). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

.(2540). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2552). ข้อมูลพื้นฐานด้านการศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2549). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชราชวิทยาลัย.

คะนึงนิตย์ และสุบรรณ จันทบุตร. (2554). ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

บุญศรี พานะจิตต์ และคณะ. (2554). ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของวัด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิ่น มุทุกันต์. (2513). มุมสว่าง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คลังวิทยา.

พระพิพิธธรรมสุนทร (สุนทร ญาณสุนฺทโร). คม ชัด ลึก เล่ม 2. กรุงเทพมานคร: เลี่ยงเชียง, 2547.

พระเมธีธรรมมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2558). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

.(2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2546). ทิศทางการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโ). (2556). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

.(2559). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

พระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม). (2548). สารภาค 15. กาญจนบุรี: สำนักพิมพ์ธรรมเมธี.

พระราชสีมาภรณ์ (โอภาส นิรุตติเมธี). (2557). พระสงฆ์กับงานพัฒนาพระพุทธศาสนาและสังคม. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

ไพบูลย์ เสียงก้อง. (2544). วัดพัฒนา 44. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

.(2557). “หลักการบริหารงายในวัด”, ใน อบรมบาลีก่อนสอบภาค 4 ปีที่ 3. รวบรวมและจัดพิมพ์โดยคณะกรรมการฝ่ายเลขานุการ โครงการอบรมบาลีก่อนสอบ. ปทุมธานี: บริษัทสื่อตะวัน จำกัด.

ทวี ขจรกุล. (2547). บทบทเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลับราชภัฎมหาสารคาม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนากรมฉบับราชบัณฑิตสถาน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

เผยแพร่แล้ว

18-06-2022