ปัจจัยพลังอำนาจของชาติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • เมธา หริมเทพาธิป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รวิช ตาแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • พจนา มาโนช มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปรียะพงษ์ คุณปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ปัจจัยพลังอำนาจของชาติ, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, บุคคลและครอบครัว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปรัชญาโดยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เสริมสร้างปัจจัยพลังอำนาจของชาติ และเป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เสริมสร้างปัจจัยพลังอำนาจของชาติเพื่อสร้างความรู้ใหม่ ผลการศึกษาพบว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการที่มีพลังอำนาจในตัวเองที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือ และแสวงหา เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี และเสริมสร้างปัจจัยพลังอำนาจของชาติทั้ง 11 ปัจจัย ซึ่งเป็นปัจจัยภายในที่ส่งเสริมให้เกิดพลังอำนาจของชาติใน 3 ระดับ คือ 1. ระดับบุคคล มีปัจจัยความเชื่อ ศาสนา จริยธรรมและความจงรักภักดี  ปัจจัยการศึกษา และปัจจัยอุดมการณ์ของชาติและผู้นำ เป็นปัจจัยภายในระดับบุคคล  2. ระดับสังคม มีปัจจัยภายในที่เป็นฐานจากระดับบุคคลที่ต้องเสริมด้วย ปัจจัยประชากร ปัจจัยลักษณะประจำชาติ และปัจจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  3. ระดับชาติและประเทศ มีปัจจัยภายในที่เป็นฐานจากระดับบุคคล สังคม มีปัจจัยที่ต้องเสริมต่อด้วย ปัจจัยการทหาร ปัจจัยทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยเศรษฐกิจ และปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการฑูต พลังอำนาจทั้ง 3 ระดับนี้มีปัจจัยประวัติศาสตร์เป็นปัจจัยเสริมอีกปัจจัยหนึ่งที่ทุกระดับต้องตระหนัก เพราะเป็นปัจจัยที่ทำการควบคู่ไปพร้อมกับระยะเวลาในแต่ละช่วงของการสร้างพลังอำนาจของชาติและประเทศ การอภิปรายผลพบว่า การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ร่วมกับพลังอำนาจของชาติทั้ง 11 ปัจจัยเป็นการยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน  ชุมชน สังคม และประเทศได้ ทั้งเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมแห่งการแบ่งปันทั้งในระดับพื้นที่ ระดับองค์กร และระดับบุคคลและครอบครัว ประเทศ และภูมิภาค

References

กีรติ บุญเจือ และคณะ. (2558). “ลักษณะหลังนวยุคในทฤฎีความพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ”. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

________. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชน ปริ้นติ้ง.

________. (2546ก). ชุดเซนต์จอห์น สอนปรัชญาภาษาง่าย เล่มต้น ปรัชญาประสาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ : ฐานบัณฑิต.

________. (2549). อรรถปริวรรต คู่เวรคู่กรรม ปรัชญาหลังนวยุค. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2545ก). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มต้น เริ่มรู้จักปรัชญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

เซนต์จอห์น.

________. และ สิริกร อมฤตวาริน. (2561). “ปรัชญาธรรมาภิบาลที่พบได้ในอารยธรรมอียิปต์โบราณ”. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

คณะกรรมการขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2560). การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิรูปประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ประมวลคำในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่พุทธศักราช 2493 - 2549 ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียง สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2558). “หลักคุณภาพในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับปรัชญาหลังนวยุค : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เดือน คำดี. (2541). ศาสนาศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2564). รัฐศาสตร์ : ทฤษฎี แนวความคิด ปัญหาสำคัญ และแนวทางศึกษาวิเคราะห์การเมือง. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราโมท หม่อมศิลา. (2561). “คุณภาพชีวิตของทหารไทยตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2543). สังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตตโต). (2551) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ : เอส.อาร์.พริ้นทติ้ง แมส โปรดักส์.

พลตรีธรรมนูญ วิถี. (2559). แนวทางการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

มัลลิกา มัสอูดี. (ม.ป.ป.). “ประเด็นในการศึกษาทางด้านความเชื่อ ปรัชญา และศาสนา” ใน ประมวลชุดวิชา สัมมนาไทยคดีศึกษา หน่วยที่ 13. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เมธา หริมเทพาธิป. (2563). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยปรัชญาหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”. รายงานวิจัย. สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รวิช ตาแก้ว และคณะ. (2561). “ปรัชญาสหวิทยาการที่สนับสนุนพระปฐมบรมราชโองการ”. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิทย์ วิศทเวทย์. (ม.ป.ป.). จริยศาสตร์ : มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : อักษรทัศน์.

วิเศษ แสงกาญจนวนิช และ อเนก สุวรรณบัณฑิต. (2560). “ความชอบธรรมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะปรัชญาเพื่อการพัฒนาชาติ”. รายงานวิจัย. สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศิริพันธ์ ถาวรทวีวงศ์. (2543). ประชากรศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิโรตน์ ภาคสุวรรณ์. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2560). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : หจก. อรุณการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2559). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.).

สำนักราชเลขาธิการ. (2538). ประมวลพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในที่พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ ปีพุทธศักราช 2538. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา ฉบับบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตนสถาน

สิริกร อมฤตวาริน. (2558). “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขแท้ตามความเป็นจริง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุดารัตน์ น้อยแรม. (2561). “หลักพอเพียงเชิงปรัชญาหลังนวยุคสายกลางในภาคปฏิบัติ : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุเมธ เมธาวิทยกุล, รศ. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2560). “ยั่งยืน มีความสุขด้วยเศรษฐกิจพอเพียง : หนึ่งทศวรรษครึ่งแห่งการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง”. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อภิชัย พันธเสน, สรวิชญ์ เปรมชื่น และพิเชษฐ์ เกียรติเดชปัญญา. (2546). การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Best, S. and Kellner, D. (1999). Postmodern Theory. New York : The Guilford Press.

Earle, W. J. (1992). Introduction to Philosophy. New York: McGraw-Hill.

John Passmore” (1975). A Hundred Years Of Philosophy. https://www.amazon.com/ Hundred-Years-Philosophy-John-Passmore/dp/B007BWJHR2

Kuhh, T.S. (1970). The Structure of Scientific Revolution. Chicago: University of Chicago Press.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023