สังคมแห่งการแบ่งปันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

ผู้แต่ง

  • เมธา หริมเทพาธิป สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รวิช ตาแก้ว สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

วิธีการทางปรัชญา, สังคมแห่งการแบ่งปัน, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาด้วยวิธีการทางปรัชญา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์             วิจักษ์ และวิธาน สังคมแห่งการแบ่งปันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า 1) สังคมแห่งการแบ่งปันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสังคมแห่งการให้ด้วยใจที่รู้จักพอ เป็นการให้ที่ส่งเสริมให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้ คือ พอมีพอกิน ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นเป็นระดับพื้นฐาน ส่วนในระดับการพัฒนา ได้แก่ เกิดความตระหนัก ใส่ใจ และแบ่งปัน ด้วยความรู้รักสามัคคี เพื่อให้ประเทศชาติเกิดความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน 2) สังคมแห่งการแบ่งปันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณค่าทั้งในเชิงวิชาการและวิถีปฏิบัติ ในส่วนของวิชาการนั้น ให้คุณค่าเชิงจริยธรรมทั้งทางด้านจิตวิทยา มนุษยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ในส่วนของวิถีปฏิบัตินั้น มีจุดเริ่มต้นจากใจที่รู้จักพอ โดยต้องเริ่มจากฐานความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสุขหรือลดทุกข์ในชีวิตของแต่ละคนบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียน สูงไปกว่านั้น เมื่อแต่ละคนสามารถพึ่งพาตนเองได้ พออยู่พอกิน พอมีสำรองแล้ว ก็ควรแสดงน้ำใจต่อเพื่อมนุษย์และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมด้วยการแบ่งปันเกื้อกูลต่อไป 3) สังคมแห่งการแบ่งปันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนสังคมแห่งการแบ่งปันทั้งในส่วนองค์กรด้านวิชาการ องค์กรด้านกระบวนการเรียนรู้ และองค์กรด้านการประชาสัมพันธ์ โดยใช้หลักการทรงงานเป็นส่วนขับเคลื่อนให้เกิดวงจรจิตอาสาอย่างยั่งยืน ได้แก่ การตระหนัก ใส่ใจ และแบ่งปัน เพื่อส่งต่อสังคมแห่งการแบ่งปันบนพื้นฐาน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไม่รู้จบ

References

กีรติ บุญเจือ และคณะ. (2558). ลักษณะหลังนวยุคในทฤฎีความพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ. รายงานวิจัย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2558). หลักคุณภาพในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับปรัชญาหลังนวยุค: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปราโมท หม่อมศิลา. (2561). คุณภาพชีวิตของทหารไทยตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พอเพียง. (2565). น้ำใจคนไทยเกิดจากใจที่รู้จักพอ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://porpeang-km.com/ knowledge-academic/national-characteristics/content19/ [9 มิถุนายน 2565].

เมธา หริมเทพาธิป. (2559). การศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง: วิเคราะห์จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน).

วิเศษ แสงกาญจนวนิช และ อเนก สุวรรณบัณฑิต. (2560). ความชอบธรรมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะปรัชญาเพื่อการพัฒนาชาติ. รายงานวิจัย. สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). เรียนรู้หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

สุดารัตน์ น้อยแรม. (2561). หลักพอเพียงเชิงปรัชญาหลังนวยุคสายกลางในภาคปฏิบัติ : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2560). ยั่งยืน มีความสุขด้วยเศรษฐกิจพอเพียง: หนึ่งทศวรรษครึ่งแห่งการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023