อุดมการณ์และกระบวนการการเสริมสร้างสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ตามหลักพุทธธรรมของเครือข่ายจิตอาสาจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พูนศักดิ์ กมล วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาวิฑูรย์ สิทฺธิเมธี วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อุดมการณ์, การเสริมสร้างสังคม, วิถีชีวิตใหม่, หลักพุทธธรรม, เครือข่ายจิตอาสา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอุดมการณ์ในการเสริมสร้างสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ของเครือข่ายจิตอาสาจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ของเครือข่ายจิตอาสาจังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อประยุกต์กระบวนการเสริมสร้างสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ตามหลักพุทธธรรมของเครือข่ายจิตอาสาจังหวัดชัยภูมิให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือในการทำวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มจากกลุ่มจิตอาสา รวมจำนวน 35 รูป/คน ในเขตจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 5 อำเภอ มีอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอหนองบัวแดง และอำเภอภูเขียว

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มจิตอาสาระดับผู้นำ ระดับผู้ปฏิบัติการ และระดับผู้รับบริการ ในพื้นที่ 5 อำเภอ เพื่อสร้างเครือข่ายจิตอาสาให้เกิดมีพลังในการทำงานด้านจิตอาสา ในอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอหนองบัวแดง และอำเภอภูเขียว มีกระบวนการในการนำหลักพุทธธรรม เพื่อเสริมสร้าง สังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ของเครือข่ายจิตอาสาจังหวัดชัยภูมิใช้ ศีล 5 คือ การนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นสัญญาประชาคมในกลุ่มจิตอาสา และสังคหวัตถุ 4 ในการส่งเสริมการดำเนินชีวิตในสังคมเพื่อให้สังคมในสถานการณ์ปัจจุบันเกิดความสงบสุข มีสาราณียธรรม 6 คือ การปฏิบัติตน ประพฤติสุจริตในสิ่งที่ดีงามอย่างสม่ำเสมอ มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น และใช้อิทธิบาท 4 เป็นแนวทางสำหรับการใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จ ด้วยกระบวนการเสริมสร้างสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ตามหลักพุทธธรรมของเครือข่ายจิตอาสาจังหวัดชัยภูมิ ก่อให้เกิดเป็นชุมชนแนวใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เป็นแบบอย่างด้านการพัฒนาคน พัฒนาชุมชนและพัฒนาสังคมให้อยู่อย่างสันติสุข ด้วยหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นแนวปฏิบัติให้มีความสำนึกรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ด้วยสติ สัมปชัญญะพร้อมมีจิตอาสาให้ความร่วมมือกับสังคม

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2560). คนดีสร้างได้: โมเดลบริบูรณ์ธรรม. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย,

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).(2538). ไอทีภายใต้วัฒนธรรมแห่งปัญญา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สหธรรมิก.

พิเชฐ บัญญัติ, นายแพทย์. (2563). คู่มือเอาตัวรอดจากไวรัส COVID 19. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี แอนด์ เอ็น บุ๊ค.

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.). (2549). KM ประเทศไทย (สคส.) สิ่งดีๆ ที่หลากหลายสไตล์ (2549) KM (Best Practice-KM Style). รายงานประจำปี (2548). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.). (2549). นานาเรื่องราวการจัดการความรู้. รายงานประจำปี (2549). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.).

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023