การมีส่วนร่วมของผู้นำทางการเมืองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พระครูปฏิภาณธรรมรส (สมพร ติกฺขปญฺโญ) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุเนตร ธนศิลปพิชิต รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ผู้นำทางการเมือง, การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้นำทางการเมืองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำทางการเมืองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอการมีส่วนร่วมของผู้นำทางการเมืองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลักอิทธิบาทธรรม

          ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของผู้นำทางการเมืองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลักอิทธิบาทธรรม พบว่า ด้านการตัดสินใจ หลักอิทธิบาท 4 ที่ประยุกต์ใช้ ได้แก่ ฉันทะ ความพอใจยินดีที่จะมีส่วนร่วมแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ คือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยากทำสิ่งนั้นๆ ให้สำเร็จ คือ ผู้นำทางการเมืองมีความพึงพอใจ ยินดี และเสียสละในการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาด พร้อมทั้งเป็นผู้เต็มใจลงพื้นที่ตรวจสอบและแก้ไขการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้านการดำเนินงาน            หลักอิทธิบาท 4 ที่ประยุกต์ใช้ ได้แก่ วิริยะ ความมุ่งมั่นผลักดันพยายามที่จะมีส่วนร่วมแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ คือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยากทำสิ่งนั้นๆ ให้สำเร็จ ด้วยความอาจหาญ แกล้วกล้า บากบั่น ใจสู้ ไม่ย่อท้อไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคและความยากลำบาก คือ ผู้นำทางการเมืองเป็นผู้มุ่งมั่นผลักดันในการให้ความร่วมมือกันในการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาด ได้ประสานงานกับหน่วยงานราชการต่างๆ ในการรับรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อ มีความมุ่งมั่นผลักดันในการแบ่งพื้นที่ในการดำเนินงานในการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาด ด้านการรับผลประโยชน์ หลักอิทธิบาท 4 ที่ประยุกต์ใช้ ได้แก่ วิมังสา การพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญดีแล้วด้วยเหตุผลที่จะมีส่วนร่วมแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ คือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คือ การใช้ปัญญาพิจารณาหมั่นใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบจึงตัดสินใจแก้ไข ได้แก่ ผู้นำทางการเมืองได้มีการรับสิ่งของบริจาคจากหน่วยงานต่างๆ ได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานราชการที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เมื่อรับสิ่งของบริจาคแล้วพิจารณาไตร่ตรองถึงผลประโยชน์นั้นว่าเป็นผลประโยชน์ที่สมควรแก่ตนหรือไหม ด้านการติดตามและประเมินผล หลักอิทธิบาท 4 ที่ประยุกต์ใช้ ได้แก่ จิตตะ ความตั้งมั่นติดตามที่จะมีส่วนร่วมแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ คือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยากทำสิ่งนั้นๆ ให้สำเร็จด้วยความคิดจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ คือ ผู้นำทางการเมือง มีการตั้งมั่นติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการติดตามสถานการณ์แล้วประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เมื่อมีผู้ติดเชื้อรักษาตัวหายแล้วมีการติดตามตรวจสอบตามกฎระเบียบของทางหน่วยงานราชการ

References

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. (2565). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017 420210820025238.pdf [29 เมษายน 2565].

สีตีปาตีฮะร์ อีลา และคณะ. (2564). การแก้ปัญหาการรับมือและการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12. (25 มิถุนายน 2564) : 468.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทพสถิต. (2565). ข้อมูลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19). [ออนไลน์].แหล่งที่มา : http://www.thephos.go.th/ssothep/ [29 เมษายน 2565].

Silverman. D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London: Sange.

Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023