การศึกษาชื่อปราสาทหินในจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ธันยพงศ์ สารรัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ธีรวัฒน์ กันยาสาย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ภัทรพล จันทร์เพ็ญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ทวีทรัพย์ ทวีชาติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ศุภกร เจริญผล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ชื่อปราสาทหิน, จังหวัดศรีสะเกษ, ชื่อทางภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ชื่อเฉพาะของโบราณสถานที่เป็นปราสาทหินในจังหวัดศรีสะเกษ ผลการศึกษาพบว่า จากการสำรวจโบราณสถานประเภทปราสาทหินในจังหวัดศรีสะเกษพบว่า ในอาณาบริเวณบ้านเมืองจังหวัดศรีสะเกษในอดีต ซึ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรเขมรโบราณ มีโบราณสถานหรือที่ปัจจุบันเรียกชื่อทั่วไปว่า “ปราสาท” อยู่เป็นจำนวนมากจนกลายเป็นคำขึ้นต้นของคำขวัญประจำจังหวัด คือ “แดนปราสาทขอม” และยังพบว่าลักษณะชื่อเฉพาะของปราสาทเหล่านี้เป็นชื่อที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ โดยลักษณะชื่อเฉพาะที่พบมากที่สุด คือ ชื่อสิ่งก่อสร้าง และรูปลักษณ์จากโบราณวัตถุสถานของปราสาทขอม รองลงมาคือชื่อเฉพาะที่มีความหมายเกี่ยวกับแหล่งน้ำ และชื่อเฉพาะที่มีความหมายเกี่ยวกับบุคคล ชื่อบุคคล หรือกลุ่มชาติพันธุ์ ส่วนที่เป็นที่นิยมน้อยที่สุด คือ ชื่อทางภูมิศาสตร์ และพืชพรรณ แสดงให้เห็นว่า ลักษณะชื่อเฉพาะของ “ปราสาทหิน” ในจังหวัดศรีสะเกษ มีลักษณะที่หลากหลาย แต่ที่นิยมที่สุดคือการใช้ลักษณะของชื่อสิ่งก่อสร้างที่พบมาตั้งเป็นชื่อของปราสาทหิน

References

กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ. (2563). ร่องรอยของศาสนาพราหมณ์-อินดู และพระพุทธศาสนาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 23. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 5(3) (ตุลาคม - มกราคม): 1-13.

จินตนา ยอดยิ่ง. (2519). ประวัติของชื่อตำบลแลหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบรรณารักษ์, ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตรและสารสนเทศศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2565). ปราสาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: มติชน.

เซเดส์ ยอร์ซ. (2547). ชนชาติต่างๆ ในแหลมอินโดจีน. แปลโดย ปัญญา บริสุทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทรงธรรม ปานสกุณ. (2554). การศึกษาชื่อสถานที่ในอาณาจักรเขมร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาเขมร, ภาควิชาภาษาตะวันออก, คณะอักษรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทรงธรรม ปานสกุณ. (2554). ชื่อปราสาทหินในจังหวัดเสียมเรียบ. วารสารดำรงวิชาการ. 45(2) กรกฎาคม - ธันวาคม): 181-199.

บังอร ปิยะพันธุ์. (2547). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธิดา สาระยา. (2540). รัฐโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ธิดา สาระยา. (2547). อาณาจักรเจนละ : ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ. กรุงเทพฯ: มติชน.

ธิบดี บัวคำศรี. (2547). ประวัติศาสตร์กัมพูชาสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2550). นานมาแล้วในท้องถิ่น มีตำนาน นิทาน และเรื่องเล่า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ ปิยะปกรณ์. (2538). ภูมินามการตั้งถิ่นฐานหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: วิเคราะห์รูปแบบทางภูมิศาสตร์ของนามทั่วไป. วารสารภูมิศาสตร์. 20(3)(ธันวาคม): 17-30.

ภราดร ศรปัญญา. (2546). ปราสาทสระกำแพงใหญ่: เทวาลัยเมืองสดุกอำพิลโบราณ. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

ภราดร ศรปัญญา และคณะ.(2557). ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

.(2557). ปราสาทบ้านโนนธาตุ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

.(2558). ปราสาทสระกำแพงน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

.(2560). ปราสาทบ้านทามจาน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2547). ปราสาทขอมในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

วนิดา ตรีสินธุรส. (2534). ชื่อบ้านนามเมืองในเขตอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาไทยคดีศึกษา, ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิศวเวท อุดมเดชาณัติ. (2550). การศึกษาวัฒนธรรมทางภาษา: กรณีชื่อบ้านนามเมืองอำเภอขุขันธ์และอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, ภาควิชาภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2547). ชื่อบ้านนามเมือง. กรุงเทพฯ: มติชน.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2535). กรุงศรีอยุธยาของเรา. กรุงเทพฯ: มติชน.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2528). สังคมวิทยาชนบท: วิธีการวิจัยทฤษฎีและการเปลี่ยนแปลงในสังคมชนบทไทย. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมัย สุทธิธรรม. (2537). ปราสาทสระกำแพงใหญ่. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สัมฤทธิ์ ศรีบูรณ์. (2529). แหล่งศิลปกรรมจังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: ศรีสะเกษการพิมพ์.

สรเขต วรคามวิชัย. (2561). การสร้างปราสาทหินในอีสานใต้. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 5(2)(กรกฎาคม - ธันวาคม): 59-66.

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2540). มานุษยวิทยากับประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และสุขุมาวดี ขำหิรัญ. (2531). ชื่อหมู่บ้านของอำเภอเมืองสุรินทร์. นครปฐม: สถาบันวิจัย ภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สินทรัพย์ ยืนยาว. (2555). ตำนานปราสาทหิน: ความหมายและการสร้างอุดมการณ์ทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ในอีสานใต้. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย (กลุ่มวรรณคดี), ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สินทรัพย์ ยืนยาว. (2557). ผู้หญิงในตำนานปราสาทหินพื้นที่อีสานใต้. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 1(3)(กันยายน-ธันวาคม): 47-64.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2529). “ชื่อบ้านนามเมืองในภาคใต้” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.2529 เล่ม 3. หน้า 982-985. กรุงเทพฯ: สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2535). ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 นครราชสีมา. (2541). โบราณสถานในเขตจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สำลี ศรปัญญา. (2544). รวมศาสนสถานโบราณในจังหวัดศรีสะเกษ. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์.

อนันต์ พงษ์ภาค. (2526). ปราสาทกำแพงใหญ่ ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์, ภาควิชาโบราณคดี, คณะโบราณคดี, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อภินันท์ สงเคราะห์. (2544). สถาบันกษัตริย์เขมรโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ภาควิชาประวัติศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (2522). ภูมิศาสตร์ชนบท. มหาสารคาม: ภาควิชาภูมิศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023