การรักษาสัจจะตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

ผู้แต่ง

  • ชุมพล ชนะนนท์ สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รวิช ตาแก้ว สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การรักษาสัจจะ, ความสุขแท้, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปรัชญาด้วยวิภาษวิธีและวิธีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธานการรักษาสัจจะตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า การรักษาสัจจะตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือ และแสวงหา เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมีเป้าหมายคือความสุขแท้ตามวามเป็นจริง และตอบคำถามของฝ่ายตรงข้ามที่ยืนยันว่า การรักษาสัจจะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตต้องมาจากศาสนาด้วยคำสอนของศาสดาเท่านั้นถึงจะเป็นความดีแท้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นพบว่า 1) การรักษาสัจจะจากคำสอนของศาสดาทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้นจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจจากตนเองเป็นฐานด้วย 2) ผู้รักษาสัจจะต้องปฏิบัติและสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่าผลที่ได้เป็นเช่นไร ความสัมพันธ์ระหว่างสัจจะกับตัวผู้รักษาสัจจะจึงจะส่งผลให้ประจักษ์ได้ 3) ผลจากการรักษาสัจจะ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้สึกว่าดีและมีความสุขจากใจของตนเองที่ได้กระทำการรักษาสัจจะ ไม่ใช่เพียงศรัทธาโดยที่ไม่รู้สึกหรือคิดเอา 4) ความสุขแท้จากศาสนาจึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ความจริง ความดี ความงาม ที่ส่งผลให้เฉพาะบุคคลผู้รักษาสัจจะได้รับเฉพาะตน 5) คำสอนของศาสดาจึงเป็นเหมือนคู่มือหรือแผนที่ให้แก่ผู้ที่สนใจศรัทธาไปฝึกปฏิบัติ ไม่ควรนำมาอ้างอิงค้ำประกันความถูกต้องหรือยกตนข่มท่านว่าดีกว่า สูงส่งกว่า หรือบริสุทธิ์กว่า โดยไม่สนใจต่อสัจจะในบริบทอื่น ๆ

References

กีรติ บุญเจือ. (2545). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มต้น เริ่มรู้จักปรัชญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

__________. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชน ปริ้นติ้ง.

การศาสนา, กรม. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ.

พระครูธรรมศาสนโฆษิต (ภิญโญ ปานดำรงค์). (2560). การตีความมรรคมีองค์ 8 ตามหลักหลังนวยุคสายกลาง: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธาน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม–สิงหาคม).

เมธา หริมเทพาธิป. (2557). “เกณฑ์ตัดสินความจริงตามหลักกาลามสูตร : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน”.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รวิช ตาแก้ว. (2557).“ความหมายของคำ "ดีงาม" ในบริบทวัฒนธรรมไทย”: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน”.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Sen, A. (1982). Poverty and Famines: An Essay on Entitlement and Deprivation. New York: Clarendon.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023