การประยุกต์ใช้สติ-สัมปชัญญะในแก้ปัญหาสังคมก้มหน้า

ผู้แต่ง

  • ริญญารัตน์ วรจินตนาลักษณ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยา, สติ-สัมปชัญญะ, สังคมก้มหน้า

บทคัดย่อ

สังคมก้มหน้ากำลังระบาดไปทั่วโลก  เห็นได้ชัดจากผู้คนในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าขณะโดยสารรถ รับประทานอาหาร เดินตามท้องถนน  หรือแม้แต่ในขณะที่สนทนากับบุคคลอื่นก็ยังจดจ่อกับหน้าจอสี่เหลี่ยม  พฤติกรรมเช่นนี้ส่งผลให้หลายคนประสบปัญหาตามมาอย่างคาดไม่ถึง  ผลกระทบที่ตามมาในด้านต่าง ๆ  เช่น ผลกระทบด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต คือ การเกิดภาวะซึมเศร้าและขาดทักษะในการดำเนินชีวิตในโลกความจริง ผลกระทบด้านสังคม คือ ขาดทักษะในการสื่อสารกับคนรอบข้าง  เพราะมัวจดจ่อกับเครื่องมือสื่อสาร จนกลายเป็นวลีที่เรียกกันว่า “สังคมก้มหน้า”

ในความเป็นจริงสังคมก้มหน้าก็มีข้อดี คือ มีส่วนช่วยให้ผู้คนได้มีโอกาสใกล้ชิดกันมากขึ้น การสื่อสารผ่านโลกออนไลน์กลายเป็นส่วนช่วยให้เราสามารถติดต่อกับกับบุคคลอื่นหรือญาติมิตรที่อยู่ตามสถานที่ที่ห่างไกลได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว  โดยอาศัยโปรแกรมประยุกต์ (แอปพลิเคชั่น) ต่างๆ เช่น แอปพลิเคชั่นไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถบริจาคเพื่อการกุศลผ่านระบบออนไลน์ได้เช่นเดียวกัน ถือเป็นการเกื้อกูลซึ่งกันและกันตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ ดังนั้นการดำเนินชีวิตในสังคมก้มหน้า จำเป็นต้องนำหลักการมีสติ-สัมปชัญญะมาประยุกต์ใช้ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาในด้านต่างๆ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

References

กฤษศญพงษ์ ศิริ. (2559). อธิบดีกรมการศาสนา (ศน.). “นำหลักธรรมดึงสติเยาวชนรู้เท่าทันสื่อโดย chatchai nokdee” [ออนไลน์] สืบค้น เมื่อ 12 สิงหาคม 2565. จาก http://www.thaihealth.or.th.

พีรยุทธ เจริญสุข.งานวิจัย:ความสำคัญของ "การมีสติ" ในการเล่น social media. มงคลวิทยาลัยนานาชาติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์”,[ออนไลน์]สืบค้นเมื่อ วัน18 สิงหาคม 2565.จาก http://palungjit.org/threadssocial-media.

สุภาภรณ์. (2558). สังคมก้มหน้า (SOCIAL IGNORE) (2558). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความหมาย [ออนไลน์]สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มาจาก: http://www.pr.chula.ac.th/index.

พระมหาสว่าง จตฺตมโล (ถุนกระโทก). (2554). “เรื่องการศึกษาเจตคติและความเข้าใจเกี่ยวกับเบญจกัลยาณธรรม ในพระพุทธศาสนา ศึกษากรณี:ชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร”.

วิชัย แย้มสะอาด. (2014). “ตามหาแก่นธรรม 261 สังคมคนก้มหน้า ( สังคมกระหืดกระหอบ )” [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565.จาก: http://www.thammasatu.net/forum/index.

สุจินต์ บริหารวนเขตต์. “สติและสติสัมปชัญญะ แตกต่างกันอย่างไร มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา” 25 ต.ค.2556. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อเข้าถึงเมื่อวัน 11 สิงหาคม 2565. จาก http://www.Dham mahome.com/webboard .

สรวงศ์ เทียนทอง. (2558).“ตนรู้สึกห่วงใยถึงพฤติกรรมคนไทยในการใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน”บริษัทนี้ดี จำกัด [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565. จาก: http://tassinee.blogspot.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024