คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่จำแนกตามเพศ กลุ่มอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และเพื่อเสนอแนวทางส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลนางัว อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ในเขตเทศบาลตำบลนางัวทั้ง 12 หมู่บ้าน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่จำแนกตามเพศ กลุ่มอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ
ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเทศบาลตำบลนางัว อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.12, S.D.= 0.42) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม (= 3.22, S.D.= 0.67) รองลงมา คือ ด้านจิตใจ (= 3.20, S.D.= 0.68) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านสิ่งแวดล้อม (= 3.04, S.D.= 0.79) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลนางัว อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ กลุ่มอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมพบว่าผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลนางัวที่มีเพศ กลุ่มอายุ ระดับการศึกษา ที่แตกตางกันมีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลนางัวที่มีอาชีพต่างกัน มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้อเสนอแนะ แนวทางส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลนางัว ได้แก่ เทศบาลตำบลนางัวควรมีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและเพียงพอในสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ
References
กิติพัฒน์ ปัทมะดุล. (2550). สวัสดิการสังคมเพื่อคนด้อยโอกาส นโยบายว่าด้วยการกินดีอยู่ดี มีสุข มีสิทธิ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จีราพร ทองดี, ดาราวรรณ รองเมือง และฉันทนา นาคฉัตรีย์. (2555). ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 22(3) : 88-99.
เจริญชัย หมื่นห่อ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม. การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง กำลังคนด้านสุขภาพกับการบริการด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์ 2 - 4 มิถุนายน 2553.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.
ชุติเดช เจียนดอน, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, ฉวีวรรณ บุญสุยา และนพพร โหวธีระกุล. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 41(3): 229-239.
Skinner, B.F. Beyond Freedom and Dignity. New York: Alfred A. Knopf, 1972.
Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications, 1973.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.