การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู เพื่อการบริหารงาน โรงเรียนนครนนท์วิทยา 5 ทานสัมฤทธิ์ จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • โสภี วิวัฒน์ชาญกิจ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะ, เทคโนโลยีสารสนเทศ, ครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาระดับความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู เพื่อการบริหารงานโรงเรียนนครนนท์ วิทยา 5 ทานสัมฤทธิ์  2.เพื่อเปรียบเทียบระดับความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูเพื่อการบริหารงาน โรงเรียนนครนนท์ วิทยา5 ทานสัมฤทธิ์    จังหวัดนนทบุรี ประชากร คือครู จํานวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามระดับประมาณค่า ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าดัชนีสอดคล้อง 0.60-1.00 และมีค่าเฉลียความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ค่า  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟและการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูเพื่อการบริหารงาน โรงเรียนนครนนท์ วิทยา 5 ทานสัมฤทธิ์   จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายด้านโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่าส่วนใหญ่คือ ด้านคอมพิวเตอร์อันดับที่สอง คือด้านระบบสื่อสารและลําดับสุดท้ายคือด้านเทคโนโลยีเครือข่ายตามลําดับและเพื่อเปรียบเทียบระดับความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ครู มีทักษะในด้านคอมพิวเตอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพียงด้านเดียว

References

กฤษกนก ดวงชาทม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารโดยใช้โรงเรียน เป็นฐานของผู้บริหาร โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (งานวิจัย):มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

กฤษณพงศ์ บุญเฉย. (2563). ความคิดเห็นในการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดโพธิ์แจ้ (มาลีราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: วิทยาลัยทองสุข.

กายกาญจน์ เสนแก้ว. (2560). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของ Gen-X ใน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชนินทร เฉลิมสุข และ อภิชาติ คำปลิว. (2562). เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ประวิตร จันทร์อับ. (2561). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิมพ์ไพรัช เหมกุล. (2563). การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวัดโพธิ์แจ้ (มาลีราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. วิทยาลัยทองสุข.

นิรชราภา ทองธรรมชาติ และบุญเลิศ อรุณพิบลูย์. (2545). ลักษณะของ E-Teacher. กรุงเทพฯ: มปท.

ในตะวัน กำหอม. (2563). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา.เล่มที่ 2 โรงพิมพ์ทีคอม. จังหวัดมหาสารคาม. วิทยาลัยทองสุข. กรุงเทพฯ.

สถิตย์ นิยมญาต. (2563). การบริหารองค์การในภาวะล็อคดาวน์ประเทศของภาคธุรกิจไทย. วิทยานิพนธ์.มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

เอกสิทธิ์ สนามทอง. (2562). การจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (HRD 4120). กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง .

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023