การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี

ผู้แต่ง

  • มาริษา เทศปลื้ม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • เฉลียว พันธุ์สีดา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • หัทยา แย้มชุติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู, ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP model) ควบคู่กับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (Internal Quality Assurance: IQA) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน จำนวน 12 คน นักศึกษา จำนวน 115 คน บัณฑิต จำนวน 185 คน และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 108 คน รวมทั้งสิ้น 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561) ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (  = 4.16, S.D. = 0.58) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านมีความเหมาะสมในระดับมาก โดยด้านที่มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด คือ ด้านกระบวนการ  (  = 4.31, S.D. = 0.58) รองลงมา คือ ด้านบริบท (  = 4.20, S.D. = 0.54) ด้านปัจจัยนำเข้า (  = 4.07, S.D. = 0.64) และด้านผลผลิต (  = 4.04, S.D. = 0.56) และมีผลการประเมินตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ในทุกตัวบ่งชี้ ระดับคุณภาพดีมาก แสดงให้เห็นว่า หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพจึงสมควรที่จะดำเนินการต่อไป เพียงแต่ปรับปรุงองค์ประกอบย่อยในบางประเด็นเพื่อให้มีคุณภาพมากขึ้น

References

กรภัสสร อินทรบำรุง. (2558). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8(1), 700-713.

กิตติคุณ หุตะมาน.(2561). การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนศิลปะ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 29(2), 211-223.

จรูญเกียรติ พงศ์กุลศร, ภัทรพร ไชยชมภู, บงกช เจนชัยภูมิ และณัชชารีย์ วิฉายาโรจน์ดำริ.(2560). ประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2557) คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(3), 106-114.

ชนัญชิดา จันทร์ตรี และอภิชาติ ศรีประดิษฐ์.(2562). การประเมินหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 12(2), 655-671.

ฐิติมา ญาณะวงษา, สมเกียรติ อินทสิงห์, สุนีย์ เงินยวง และน้ำผึ้ง อินทะเนตร. (2564). หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์: แนวทางใหม่สำหรับหลักสูตรอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 279-291.

นพมณี เชื้อวัชรินทร์, จันทร์พร พรหมมาศ, สมศิริ สิงห์ลพ, ภคมน ทิพย์เนตร, มันทนา เมฆินานนท์, ภาสกร ภักดิ์ศรีแพง, วชิราภรณ์ ราชบุรี และศาณิตา ต่ายเมือง.(2558). การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนชีววิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์. 26(3), 77-91.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์.(2562). การประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร: รับรู้ เรียนรู้ สู่การปฏิบัติ.วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3, 3(6), 4-13.

มารุต พัฒผล. (2558). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา.(พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ราชกิจจานุเบกษา. (13 พฤศจิกายน 2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 259 ง, 12-24.

ราชกิจจานุเบกษา. (26 เมษายน 2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.2562. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก, 1-22.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์ จำกัด.

ศิวาพร ยอดทรงตระกูล. (2562). อาจารย์ : ตัวชี้วัดสำคัญในการประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 22-32.

สำนักงานมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา.(2557). คู่มือการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักประกันคุณภาพการศึกษา. (2562). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยธนบุรี พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธนบุรี.

อังคณา สุเมธสิทธิกุล และองค์อร ประจันเขตต์.(2561). อัตลักษณ์ บุคลิกภาพ และคุณค่า: แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงวิชาชีพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(2), 1-7.

Stufflebeam, D.L., Foley} W.J., Guba, E.G., Hammon, R.L., Merriman} H.O., & Provus, M.M.(1971). Educational Evaluation and Decision-Making. Itasca, IL: Peacock.

Taro Yamane.(1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row Publications.

เผยแพร่แล้ว

30-11-2024