ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานรายวิชาสถานการณ์จำลอง และเกมเพื่อการเรียนรู้ ของนักศึกษาวิชาชีพครู

การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • มาริษา เทศปลื้ม Thonburi University
  • พรรณี บุญประกอบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • มนัส บุญประกอบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • เฉลียว พันธุ์สีดา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • นภวรรณ แย้มชุติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน, รายวิชาสถานการณ์จำลองและเกมเพื่อการเรียนรู้, นักศึกษาวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสถานการณ์จำลองและเกมเพื่อการเรียนรู้ ของนักศึกษาวิชาชีพครูก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน 2) ศึกษาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน รายวิชาสถานการณ์จำลองและเกมเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One – Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบประเมินทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ 3) แบบสอบถามความคิดเห็น และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent)

ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาวิชาชีพครูที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสถานการณ์จำลองและเกมเพื่อการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักศึกษาวิชาชีพครูหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีคะแนนความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (  = 3.69, S.D. = 0.59) และ 3) นักศึกษาวิชาชีพครูมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.19, S.D. = 0.62)

References

กัลยกร ภักดี.(2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชานวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 45-55.

กัลยา สร้อยสิงห์.(2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาทางด้านอุตสาหกรรมบริการ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(2), 381-396.

ขวัญชัย ขัวนา และธารทิพย์ ขัวนา.(2561). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นวิจัย: กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 24(1),1-16.

ชูศรี วงศ์รัตนะ และองอาจ นัยพัฒน์.(2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์: แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ.(2562). รูปแบบการเรียนการสอนด้วยยุทธศาสตร์สะท้อนอภิปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน : นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(2), 1-16.

นิสากร วิบูลชัย, นฤมล อเนกวิทย์, อนุชา ไทยวงษ์, มลฤดี แสนจันทร์ และกัญญาพัชร บัณฑิตถาวร.(2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในคลินิก โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการพยาบาล สำหรับนักศึกษา. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 13(2), 77-92.

บุญชม ศรีสะอาด.(2553). การวิจัยเบื้องต้น.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปราโมทย์ พรหมขันธ์.(2556). การพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. วารสารครุศาสตร์, 41(3), 98-114.

พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. ศึกษาศาสตร์สาร, 1(2), 62-71.

ไพศาล วรคำ. (2552). การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

มารุต พัฒผล. (2562). หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ศศิธร อินตุ่น.(2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา CI 2301 หลักการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(4), 191-200.

สุภาภรณ์ มาชัยวงศ์, สุทธิวรรณ ปิติภาคย์พงษ์, มงคล จิตรโสภิณ และวิภารัตน์ แสงจันทร์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานในประเทศนิวซีแลนด์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 8(1), 12-22.

เสาวภา วิชาดี.(2554). การศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่: การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. Executive Journal, 31(3), 26-30.

เผยแพร่แล้ว

30-11-2024