ภาวะผู้นำของเยาวชนยุคดิจิทัล: การเสริมศักยภาพนักศึกษาด้านการพัฒนาทักษะทางวิชาการของเครือข่ายมหาวิทยาลัยภูมิภาคตะวันตก

ผู้แต่ง

  • นิภาวรรณ เจริญลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, การเสริมศักยภาพ, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทเรียนการเสริมศักยภาพภาวะผู้นำของเยาวชนจากโครงการเสริมศักยภาพทักษะทางวิชาการของเครือข่ายมหาวิทยาลัยภูมิภาคตะวันตกของนักศึกษาสาขาจัดการชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การถอดบทเรียน และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบคุณภาพด้วยเทคนิคสามเส้าและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าการเสริมศักยภาพผู้นำของเยาวชน ประกอบด้วย การมีเป้าหมายร่วม การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การทำงานเป็นทีม การคิดเชิงบวก และเข้าใจเชิงระบบ กระบวนการเสริมศักยภาพที่เป็นขั้นตอน ประกอบด้วย 4 ลำดับ คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความต้องการ 2) การเสริมศักยภาพ 3) การเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ และ 4) สรุปบทเรียนประเมินผล

References

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2565 (ผนวกรวมแผนปฏิบัติการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 – 2564). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เจ. เอส. การพิมพ์.

ธีรศักดิ์ อุปรมัย อุปไมยอธิชัย และสุชาติ บางวิเศษ. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิตย์ สัมมาพันธ์. (2546). ภาวะผู้นำ: พลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: บริษัท อินโนกราฟฟิคส์ จำกัด.

ปิยะขวัญ ชมชื่น. (2562). ทักษะดิจิทัลกับการทำงานของเยาวชนอาเซียน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://lawforasean.krisdika.go.th/Content/View?Id=725&Type=1. 30 ธันวาคม 2565.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย.

วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2559). ฟา: ทักษะสำหรับผู้บริหารยุคใหม่ Facilitator Skill For Modern Management. กรุงเทพฯ: อริยชน.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม (วปส.) มหาวิทยาลัยมหิดล. เด็กและเยาวชน: กลุ่มเปราะบางทางสุขภาพจิตในวิกฤติโควิด – 19. (2565). https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/09/2022-policy-brief-youth-mental-health.pdf

สมพงษ์ จิตระดับ และพจนา อาภานุรักษ์. (กันยายน - ธันวาคม 2564). “แนวทางการพัฒนาคุณภาพเยาวชนพลเมือง: การเปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตของประเทศไทย สาธารณรัฐเอสโตเนีย และสิงคโปร์,” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 16(3) : (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/242098/172580. 3 มกราคม 2565.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และประยุทธ ชูสอน. (2557). ภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัฒน์: แนวคิดและการวิจัย Global Leadership: Concept and Research. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานวิจัยแนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship) : ประสบการณ์นานาชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงโลกอนาคตในปี 2040. กรุงเทพฯ: สกศ.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). โลกเปลี่ยน คนปรับ: หลุดจากกับดัก... ขยับสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023