การประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การประยุกต์, การพัฒนาศักยภาพ, หลักสัปปุริสธรรมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการพัฒนาศักยภาพการบริหารของนักปกครองท้องที่ 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 359 คน และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1.ระดับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการพัฒนาศักยภาพการบริหารของนักปกครองท้องที่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ แตกต่างกันมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐาน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีส่วนรวมในการบริหารงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 4. แนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมตาม
หลักสัปปุริสธรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ 1) ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย คือ ผู้ใหญ่พร้อมผู้ช่วยจะมาช่วยกันแก้ปัญหาในเบื้องต้นก่อน 2) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ คือ ชุมชนมีความขาดแคลนในด้านใดบ้าง 3) ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ผู้ใหญ่และผู้ช่วยขอความร่วมมือให้ลูกบ้านช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2560). การปกครองท้องถิ่นว่าด้วยทฤษฎี แนวคิดและหลักการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส เอเชียเพรส จํากัด. 13.
เกษตรศิริ เสมือนโพธิ์. (2562). บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537: กรณีศึกษาอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
งานวิเคราะห์นโยบายและแผน องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม, แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565), องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
ลักขณา ฤชา. (2563). ภาวะผู้นำของกำนันและผู้ใหญ่บ้านต่อประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลกรณีศึกษา อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พุฒ บุญเติม. (2559). รูปแบบการจัดการป่าชุมชนที่เหมาะสมสอดคล้องกับพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำมูลตอนกลาง. รายงานการวิจัย.
สุรัตน์ กลั่นประเสริฐ. (2563). ภาวะผู้นำทางการบริหารโดยการประยุกต์ใช้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7: กรณีศึกษา บริษัททรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 118.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.