รูปแบบอัตลักษณ์วัฒนธรรมมองผ่านปรัชญาหลังนวยุคของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • พระปลัดสาโรจน์ ธมฺมสาโร (ปัญญารัมย์) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สมบูรณ์ บุญโท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สวัสดิ์ อโณทัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์วัฒนธรรม, ปรัชญาหลังนวยุค, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

บทความวินัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพหุสารัตถะแนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์วัฒนธรรม 2) ศึกษาพหุสารัตถะแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) ประยุกต์ใช้ปรัชญาหลังนวยุคของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ปัญหาอัตลักษณ์วัฒนธรรม 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบอัตลักษณ์วัฒนธรรมมองผ่านปรัชญาหลังนวยุคของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา

 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบอัตลักษณ์วัฒนธรรมมองผ่านปรัชญาหลังนวยุคของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามกรอบองค์ประกอบของวัฒนธรรมธรรม 4 ประการ คือ 1) ด้านคติธรรม หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ถูกต้องต่อหลักการดำเนินชีวิตตามหลักมัชฌิมาปฏิปทาในพระพุทธศาสนาตรงกับคำว่า Right Wisdom = R-W 2) ด้านเนติธรรม หมายถึง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการผลิตและการแสวงหาที่ถูกต้องตามหลักสัมมาอาชีวะ ในพระพุทธศาสนาตรงกับคำว่า Right Produce =R-P 3) ด้านสหธรรม หมายถึง ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันและการอยู่ร่วมกันในสังคมบนฐานหลักสังคหวัตถุธรรม 4 ในพระพุทธศาสนาตรงกับคำว่า Right Sharing = R-S และ 4) ด้านวัตถุธรรม หมายถึง หลักการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องบนเงื่อนไขความรู้ของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตรงกับคำว่า Right Technology=R-T ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวถือเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ได้  คือ R-WPST MODEL

References

กระทรวงมหาดไทย. (2541). เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองแนวความคิดและยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท ทรงสิทธิวรรณ จำกัด.

คณะกรรมการจัดงานพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. (2542). พระบรมราโชวาท 168 องค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมฉลองพระเกียรติ เนื่องใน พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.

ธัญพัชร ศรีมารัตน์. (2558). อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกับกระบวนการกลายเป็นสินค้า: กรณีศึกษาโรงแรมปิงนครา บูติกโฮเทลแอนด์สปา เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุษยา มั่นฤกษ์, (2556) การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร จัดการของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พันธุ์บุณย์ ทองสังข์. (2549). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับกลยุทธ์การจัดการองค์การในสภาวะวิกฤต กรณีศึกษา: ชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยามนุษย์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก 6 เมษายน 2560. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.ratchakitcha. soc.go.th/DATA/PDF. [1 กุมภาพันธ์ 2564].

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). จากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ...กว่า 1 ทศวรรษ. กรุงเทพฯ: บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด.

.แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.nesdc.go.gh. [1 กุมภาพันธ์ 2564].

.กรอบแนวคิดทางทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.nesdb.go.th.[1 กุมภาพันธ์ 2564].

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2558). การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเชื่อของชุมชนเกาะยอ. วารสารปาริชาต. มหาวิทยาลัยทักษิณ. ปีที่ 28 ฉบับที่ 3 (ฉบับพิเศษนำผลงาน/บทความวิชาการจากเวทีประชุมวิชาการ ระดับชาติ มหาวิทยาทักษิณ ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2558: 82-103.

อคิน รพีพัฒน์. (2552). พลังชุมชนกับมหาวิทยาลัย: ความท้าทายและคำตอบของโลกอนาคต. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

อภิชัย พันธเสน. (2549). วิถีเศรษฐกิจพอเพียง: เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023