รูปแบบการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมมองผ่านปรัชญาหลังนวยุคของพุทธทาสภิกขุ

ผู้แต่ง

  • พระครูโอภาสประสิทธิคุณ อุทโย (เกตุขาว) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สมบูรณ์ บุญโท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สวัสดิ์ อโณทัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การอยู่ร่วมกัน, สังคมพหุวัฒนธรรม, ปรัชญาหลังนวยุค, พุทธทาสภิกขุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพหุสารัตถะเกี่ยวกับแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม 2) ศึกษาแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคของพุทธทาสภิกขุว่าด้วยสังคมพหุวัฒนธรรม 3) ประยุกต์หลักปรัชญาหลังนวยุคของพุทธทาสภิกขุในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับรูปแบบการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมมองผ่านปรัชญาหลังนวยุคของพุทธทาสภิกขุ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสารภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา

          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมมองผ่านปรัชญาหลังนวยุคของพุทธทาสภิกขุ เป็นการประยุกต์ใช้หลักปณิธาน3 ของพุทธทาสภิกขุเป็นกรอบความคิดในการสร้างรูปแบบ คือ หนึ่ง การรับรู้ (Perception) คือ ภาวะแห่งการรับรู้เข้าใจตนเอง เป็นการส่งเสริมให้ศาสนิกของแต่ละศาสนาได้ศึกษาทำความเข้าใจแก่นแท้แห่งคำสอนในศาสนาของตนและนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะเป้าหมายของทุกศาสนามุ่งสอนให้ศาสนิกทำความดี และความดีเป็นเป้าหมายของการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม สอง การเรียนรู้ (Learn) คือ ภาวะการเรียนรู้เข้าใจผู้อื่น เป็นการส่งเสริมให้สมาชิกในสังคมได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของเพื่อนร่วมสังคม เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน เพราะเมื่อรู้เข้าใจกันอย่างถูกต้องแล้วจะส่งผลให้การปฏิบัติต่อกันเป็นไปอย่างถูกต้องเป็นการป้องกันและลดปัญหาความขัดแย้งในสังคมพหุวัฒนธรรม สาม การร่วมมือ (Cooperate) คือ ความร่วมมือช่วยเหลือกัน การร่วมมือกันในลักษณะการสร้างพลังทางสังคม ในการแสวงหาแนวทางการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุขบนพื้นฐานความแตกต่างหลากหลายโดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ สร้างความเป็นเอกภาพในความหลากหลาย ผลการวิจัยดังกล่าวถือเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ได้ คือ PLC Model

References

กรมการศาสนา. สถิติประชากรไทยจำแนกตามการนับถือศาสนา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.e-service. dra.go.th. [1 กุมภาพันธ์ 2564].

กวีวงศ์ (รวบรวม). (2550). สรรนิพนธ์พุทธทาสว่าสมานฉันท์และสันติวิธี. กรุงเทพฯ: บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.

ประเวศ วะสี. (2549). ร้อยคน ร้อยธรรม 100 ปีพุทธทาส. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

พระกอบชัย เขมานนฺโท. รูปแบบการจัดการความรู้ของพุทธทาสภิกขุ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. Journal of MCU Peace Studies Vol.5 No.1 (January-April 2017): 128-139. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www. tci-thaijo. org. [1 กุมภาพันธ์ 2564].

พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ). (2549). ร้อยคน ร้อยธรรม 100 ปีพุทธทาส. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ สุขภาพใจ.

พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม. (2562). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย กรณีศึกษา สังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562): 46-59.

พระมหาสราวุธ โพธิ์ศรีขาม. (2562). ตัวกู ของกู ในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ. การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ สรรพศาสตร์ สรรพศิลป์ ประจำปี 2562: 337-351.

ฟาตีหม๊ะ แววันจิต. (2561). บทบาทในการจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ยุทธการ สุดสุข. (2559). การศึกษาอุดมคติชีวิตของพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รสสุคนธ์ เนาวบุตร. (2557). แนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนบ้านป่าละอู อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต} สาขาวิชาพัฒนศึกษา, ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลำพอง กลมกูล. (2561). พหุวัฒนธรรมทางศาสนากับแนวทางการอยู่ร่วมกันของจีนและมลายู: กรณีศึกษาประเทศบรูไน. วารสารโพธิวิจัย. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค.): 75-90.

ศิลปชัย สุวรรณมณี. (2556). รูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐที่สอดคล้องกับบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฏีบัณฑิต, สาขาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรไทยทางด้านเชื้อชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.nso.go.th. [1 กุมภาพันธ์ 2564].

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2549). ร้อยคนร้อยธรรม100 ปีพุทธทาส. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023