แนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอำเภอลาดยาวเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 ตามหลักธรรมพละ 5

ผู้แต่ง

  • ว่าที่ร้อยตรีรัฐพงศ์ โยธารัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ปฏิธรรม สำเนียง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วรกฤต เถื่อนช้าง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, พละ 5

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและหาแนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อำเภอลาดยาว เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 โดยประยุกต์กับหลักธรรมพละ 5 ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู 236 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.988 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อำเภอลาดยาว  เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=34.25, S.D.=4.18) และพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสุงสุด คือ การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา (=48.65, S.D.=5.65) รองลงมา คือ การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษา (=38.59, S.D.=4.66) และกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (=34.25, S.D.=4.18) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (=17.53, S.D.=1.87) 2. แนวทางในการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยประยุกต์หลักพละ 5 อำเภอลาดยาว เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ได้แก่ 1) โรงเรียนนำบุคลากรและตัวแทนของผู้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในงานประกันคุณภาพการศึกษาร่วมอบรมสัมมนาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ 2) ผู้บริหารได้มีการระดมความคิดเพื่อวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคของโรงเรียนในรูปแบบคณะกรรมการ 3) ผู้บริหาร ลดภาระงานครู เพื่อครูจะได้ดำเนินกิจกรรมโครงการได้เต็มที่ 4) ผู้บริหารสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการในการจัดเก็บข้อมูลในการประเมินผลจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5) ผู้บริหารสถานศึกษา ตั้งคณะกรรมการที่มีความรู้ ความสามารถในการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก 6) คณะกรรมการงานประกันคุณภาพการศึกษาจัดทำรูปเล่มรายงานผลการประเมินและนำเสนอผลการประเมินตนเองให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ

References

กนิษฐา สนเผือก. (2556). การศึกษาการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรคณะพัฒนา การท่องเที่ยว. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

จันทร์พร สุดจำนง. (2560). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรสายสนับสนุนการเรียน การสอน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา การบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปราถนา อังคประสาทชัย. (2555). ปัจจัยส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาพร ถาวรอธิวาสน์ ผศ.ดร และคณะ. (2555). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สิน พันธุ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาฉบับปรับปรุงปีการศึกษา 2561-2564. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.nsw2.go.th. [15 กรกฎาคม 2556].

สุจิตรา สุคนธมัติ. (2555). ทัศนคติและการมีส่วนร่วมต่องานด้านประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555): 1-2.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023