การสำรวจและเปรียบเทียบผลการประเมินด้านคุณธรรมและความโปร่งใสจากการตอบคำถามตามประสบการณ์หรือตามความคิดเห็นของผู้เรียนในชั้นเรียน

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา หมั่นดี คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเนชั่น คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • จุฑารัตน์ หมอเต๊ะ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
  • สุรสิทธิ์ สุวรรณสินธุ์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเนชั่น คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การประเมิน, ความโปร่งใส, ชั้นเรียน

บทคัดย่อ

การทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีหน้าที่ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ทุกหน่วยงานและทุกปีงบประมาณ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ คณะสเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้สอนเรื่องคุณธรรมและความโปร่งใส ให้กับนิสิตชั้นปีที่ 3 ทั้งสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด รวมทั้งได้ทำการสำรวจและเปรียบเทียบผลการประเมินด้านคุณธรรมและความโปร่งใสจากการตอบคำถามตามประสบการณ์หรือตามความคิดเห็นของผู้เรียนในชั้นเรียน โดยเปรียบเทียบกัน 2 คู่ ได้แก่ ระหว่างนิสิตชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ กับ สาขาวิชากายภาพบำบัด และระหว่างนิสิตกายภาพบำบัดชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 กับ 2565 ใน 3 ประเด็น คือ พฤติกรรมด้านคุณธรรมความโปร่งใสของผู้เรียน การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของคณะสหเวชศาสตร์โดยผู้เรียน และการประเมินพฤติกรรมการทุจริตโดยผู้เรียนจาก 14 สถานการณ์จำลองเทียบกับผลการประเมินโดยผู้สอน ทั้งหมดนี้เป็นการประเมินแบบออนไลน์ที่ไม่มีการระบุตัวตน พบว่าทั้ง 2 คู่ที่เปรียบเทียบใน 3 ประเด็นดังกล่าว ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) แสดงว่าผู้เรียนทั้งสามกลุ่มมีพฤติกรรมใกล้เคียงกัน เนื่องจากอยู่ในวัยเดียวกัน มีประสบการณ์ชีวิตไม่ต่างกัน แต่พบว่า การทำผิดกฏจราจร การเกี่ยวข้องกับการทุริต การทุจริตในกิจกรรมการเรียนหรือการสอบ เป็นพฤติกรรมที่น่าสนใจและไม่พึงประสงค์ ที่สมควรจัดให้มีการรณรงค์ป้องกันและกำจัดพฤติกรรมเหล่านี้ ให้หมดไปจากสังคมไทยโดยเร็ว ส่วนการดำเนินงานของคณะสหเวชศาสตร์นั้น ผู้เรียนให้คะแนนในระดับที่สูง ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานของคณะฯ มีคุณธรรมและความโปร่งใสดี นอกจากนี้ยังพบว่าเยาวชนแยกแยะพฤติกรรมการทุจริตและไม่ทุจริตออกจากกันได้ การให้ความรู้ด้านการทุจริตจึงอาจไม่จำเป็น การรณรงค์ให้เยาวชนตระหนักและไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริต จึงน่าจะมีความสำคัญและจำเป็นมากกว่า

References

จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2556). แนวโน้มของคอรัปชั่นในประเทศไทย. สํานักกฎหมาย สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ออนไลน์ https://www.parliament.go.th/ewtadmin/

ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1484. สืบค้นเมื่อ 09/10/2556.

เมธา หริมเทพาธิป. (2559). ธรรมาภิบาลกับการแก้ปัญหาคอรัปชั่น. วารสารพุทธมัคค์, 1(2), 33-41.

เศรษฐพร หนุนชู. (2560). ธรรมาภิบาล: การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นในสังคมไทย. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 8(1), 1-11.

สำนักงาน ป.ป.ท. (2562). การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น. ออนไลน์ https://www.pacc.go.th/

pacc_2015/uploads/files/pap/22042019/620422_03.pptx. สืบค้นเมื่อ 09/10/2566.

สำนักงาน ป.ป.ท. (2562). การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น. ออนไลน์ https://www.pacc.go.th/

pacc_2015/uploads/files/pap/22042019/620422_03.pptx. สืบค้น เมื่อ 09/10/2566.

สรรเสริญ สุวรรณ์. (2565). หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา. ออนไลน์ https://pubhtml5.com/

ipevi/qgsy/3_PPT_หลักสูตรต้านทุจริต_ปี_2565-ดร.สรรเสริญ/15. สืบค้นเมื่อ 09/10/2556.

กลุ่มเสริมสร้างธรรมาภิบาลและระบบบริหารจัดการ กองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). ธรรมาภิบาลและระบบการบริหารจัดการที่ดีในสถาบันอุดมศึกษา. มาลินี รัตนนันทพัฒน์ (บรรณาธิการ). คู่มือการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2566). การประเมิน ITA. ทวิชาติ นิลกาณจน์ (บรรณาธิการ). คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์แนชั่นแนล.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กระทรวงคมนาคม. (2564). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2564. สื่อออนไลน์ https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2565-09/25650919-ReportExcident-2565.pdf. สืบค้นเมื่อ 09/12/2566.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023