การบูรณาการพุทธปรัชญาในอรรถกถาธรรมบทเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในสังคมยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พระมหาศักย์ศรณ์ คุณปญฺโญ (คงผล) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สวัสดิ์ อโณทัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สมบูรณ์ บุญโท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

พุทธปรัชญา, อรรถกถาธรรมบท, การพัฒนาคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนในสังคมยุคดิจิทัล 2) ศึกษาและวิเคราะห์พุทธปรัชญาในอรรถกถาธรรมบทว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) บูรณาการพุทธปรัชญาในอรรถกถาธรรมบทว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนในสังคมยุคดิจิทัล 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนในสังคมยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางปรัชญา ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธาน เพื่อนำไปสู่องค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญา

ผลการวิจัย พบว่า คุณธรรมจริยธรรม คุณงามความดีที่ควรมีอยู่จิตใจ เช่น ความกตัญญูกตเวที เมตตากรุณา พุทธปรัชญาในอรรถกถาธรรมบทที่ปรากฏนิทานเรื่องเล่าเชิงบุคลาธิษฐานและธรรมาธิษฐานสามารถนำมาเป็นรูปแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนได้ ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านกาย สังคม (ศีล) อารมณ์ (จิตใจ) และปัญญา โดยวิเคราะห์ผ่านกรอบพุทธอภิปรัชญา พุทธญาณวิทยา และพุทธจริยศาสตร์ จนวิจักษ์ แล้วนำไปสู่วิธานการประยุกต์ใช้ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมนั้น แล้วนำไปปฏิบัติจนเกิดผลเชิงคุณภาพที่ถูกต้องดีงาม โดยเน้นย้ำให้เยาวชนมีความกตัญญูเวที มีเมตตากรุณา และมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท ต่อการใช้ชีวิตในสังคม ก็เพื่อลดละความโลภ โกรธ หลง อันเป็นกิเลสที่ปลูกฝังอยู่ในจิตใจ และรู้จักนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ได้เห็นแนวทาง ได้รู้วิธีคิด และได้เข้าใจวิธีปฏิบัติ ตามหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา จนเข้าใจลึกซึ้งถึงแก่นแท้แห่งสภาวธรรมทั้งปวงอย่างตรงประเด็น องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยนี้ คือ รูปแบบ MCW Model

References

เกศนี นุชทองม่วง. (2556). อรรถกถาธรรมบท : การศึกษาในฐานะวรรณกรรมคำสอน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จรรยา ลินลา. (2562). กระบวนการพัฒนาตนตามหลักคุณธรรมจริยธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 7(2): ฉบับวิสาขบูชา: 23-33.

บัญญพนต์ พูนสวัสดิ์. (2559). Digital Natives นักเรียนยุคดิจิทัลกับห้องเรียนบน M-Learning. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20/6/2020 จาก https://www.digitalagemag.com.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2540). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพมหานคร: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.

พระมหาสาคร วรธมฺโมภาโส. (2560). การศึกษาเชิงวิเคราะห์กฎแห่งกรรมที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. 8(2): 11-23.

พระมหาศักย์ศรณ์ คุณปญฺโญ (คงผล). (2562, มกราคม-มิถุนายน). ศึกษาวิเคราะห์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช. 4(1): 70-84.

พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต). (2547). พุทธทัศนะร่วมสมัยเพื่อป้องกันความชั่วร้ายของสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2548). พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

วิไลภรณ์ จิรวัฒนเศรษฐ์. (2559). เด็กยุคดิจิทัลภายใต้สังคมแห่งสื่อออนไลน์และการเรียนรู้ทางสังคม. JOURNAL OF EDUCATION FUTUROLOGY. 1(1): 1-10.

สมบูรณ์ บุญโท. (2553). ปรัชญากระบวนทรรศน์กับการพัฒนามนุษย์ สังคมและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สวนโลก-สวนธรรม สำนักพิมพ์.

สวัสดิ์ อโณทัย. (2558, มกราคม-มิถุนายน). วิธีการสร้างความสุขตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.วารสารวิชาการ วารสารเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น. 18(22): 161-117.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023