การประยุกต์ใช้กฎแห่งกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมไทยหลังนวยุค
คำสำคัญ:
กฎแห่งกรรม, สังคมไทยหลังนวยุค, บริโภคนิยมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคม ไทยหลังนวยุค 2) ศึกษาแนวคิดกฎแห่งกรรมในคำสอนทางพระพุทธศาสนา 3) ประยุกต์ใช้กฎแห่งกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมในสังคมหลังนวยุค 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์ (analysis) วิจักษ์ (appreciation) และวิธาน (application)
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตยังมีความจำเป็น เพราะสังคมไทยหลังนวยุคได้มาสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงที่ฉับไวทั้งข้อมูลข่าวสาร ไฮ-เทคโนโลยี วัตถุนิยม บริโภคนิยม หากประชาชนตามไม่ทัน ย่อมเกิดปัญหาได้ พฤติกรรมของคนเป็นไปส่อไปในทางผิดศีลธรรมมากขึ้น กฎแห่งกรรม หากประชาชนมีความเข้าใจถูกต้อง เชื่อกรรมและผลของกรรมสามารถช่วยยับยั้งมิให้ถลำไปสู่ความชั่ว หันมากลับมาทำความดี กฎแห่งกรรมช่วยให้เกิดการพัฒนาชีวิตและลังคม โดยอาศัยสัมมาทิฏฐิ และหลักไตรสิกขามาบ่มเพาะที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาทั้งทางกาย วาจา ใจ อาศัยความมีวินัยในตัวเอง อาศัยจิตใจที่แน่วแน่ มั่นคง และอาศัยปัญญาในการแก้ปัญหาและพัฒนาทั้งทางวัตถุและทางจิตใจไปพร้อม ๆ กัน ร่างจิตที่สมบูรณ์ อยู่ในกายที่สมบูณ์ (sound mind in sound body) องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากศึกษาวิจัย คือ ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องกรรม (Right understanding of Karma) การรู้จักประยุกต์ใช้ไฮเทคโนโลยี (Applying Hi-technology) รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของของสังคมหลังนวยุค(Changing of Postmodern Society) ซึ่งสามารถเขียนเป็นโมเดลได้ ดังนี้ Development of the Life Quality and Postmodern Thai Society = RUK + AP-hi +CPS
References
พุทธทาสภิกขุ. (2518). บรมธรรม ภาคต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. ไชยา: ธรรมทานมูลนิธิ.
__________. (2521). บรมธรรม ภาคต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. ไชยา: ธรรมทานมูลนิธิ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). กาลานุกรม: พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก. พิมพ์ครั้งที่ 3/1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). ( 2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2500). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ เล่มที่ 11/14/16/22/23/. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมศักดิ์ ญาณโพโธ แม่ชีจำเรียง กำเนิดไหน. (2563). การศึกษาวิจัยเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมตามหลักคำสอนในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ อ้างอิงใน Brand Inside By Parichat Chk -22/10/2021 สืบค้นเมื่อ 20 ก.พ. 2565.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.