รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสงฆ์มองผ่านพุทธปรัชญาในสังคมดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พระสิริปัญญาคุณ (สมพล สุวรรณสิงหราช) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สมบูรณ์ บุญโท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สวัสดิ์ อโณทัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ภาวะผู้นำสงฆ์, สังคมดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำสงฆ์ในสังคมยุคดิจิทัลในพื้นที่การปกครองคณะสงฆ์จังหวัดยะลา 2.ศึกษาพุทธปรัชญาว่าด้วยภาวะผู้นำสงฆ์ 3.ประยุกต์ใช้พุทธปรัชญาว่าด้วยภาวะผู้นำสงฆ์ในพื้นที่การปกครองคณะสงฆ์จังหวัดยะลา 4. สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสงฆ์มองผ่านพุทธปรัชญาในสังคมดิจิทัล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางปรัชญาแบบวิภาษวิธี และแบบมีการหาเหตุผลด้วยการใช้วิจารณญาณ ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา 

ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดภาวะผู้นำสงฆ์ในสังคมยุคดิจิทัล ในพื้นที่การปกครองคณะสงฆ์จังหวัดยะลา ต้องมีคุณธรรม คือ ความดีที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ จริยธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติตามความดีงาม และศีลธรรม คือ การไม่ละเมิดต่อสิ่งที่เป็นเหตุทำลายความดีงาม (พระธรรมวินัย) จึงค้นหาแนวทางด้วยพุทธปรัชญา เพราะพุทธปรัชญาได้ด้วยการมองโลกแบบองค์รวมเป็นเหมือนการทดสอบตามหลักเหตุและผล มีกระบวนการอิงอาศัยกัน เพื่อให้ผู้นำสงฆ์พัฒนาภาวะผู้นำสงฆ์และเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับคณะสงฆ์จังหวัดยะลา ด้วยการสร้างภาวะความเป็นผู้นำสงฆ์ให้เห็นถึงความสำคัญในการเป็นผู้นำสงฆ์ในยุคการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งทางด้านการสื่อสาร การดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดถึงการบริหารคณะสงฆ์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การนำหลักพลธรรม 4 มาเป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบภาวะผู้นำสงฆ์ ด้วยการอาศัยความร่วมมือจากสังคมโดยรอบ เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดภาวะความเป็นผู้นำสงฆ์อย่างสมบรูณ์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน นำไปสู่องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย คือ KSPM Model = KSPM + CO

References

กรมการศาสนา. (2542). พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

ชัชฎาภรณ์ อยู่เย็นเป็นสุข. (2561). การศึกษาพุทธปรัชญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา. สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

พระพุทธวรญาณ (ทองย้อย กิตฺติทินฺโน). (2548). ธรรมญาณนิพนธ์ : 100 ปี พระพุทธวรญาณ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาญาณพล ญาณปญฺโญ (รัตนบุรี). (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นาด้าน เผยแผ่สำหรับพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ฝั่งอันดามัน. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุระพงษ์ สุรวํโส (สีหมอก). (2555). ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการบริหารการพัฒนาชุมชน:กรณีศึกษา พระครูโพธิวีรคุณ วัดโพธิการาม ตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.

พระวิฑูรย์ ฐานเมธี (บุญพร้อม). (2554). การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร). (2557). เป็นบุญจริง ๆ นะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ระบบการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023