คุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย และการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สุนิสา วรรณภักดี คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • บุญเหลือ บุบผามาลา คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

ณภาพการให้บริการ, สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ, ประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี 2.  เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา  และอาชีพ และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการด้านการปรึกษากฎหมายกับสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหายและการบังคับคดี จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test

            ผลการวิจัย พบว่า

            คุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและ
การบังคับคดีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ รองลงมาคือด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ

            ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ตามความคิดเห็นของประชาชนที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมพบว่าประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ  และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ไม่แตกต่างกัน

            ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ได้แก่ ควรจัดอบรมให้กับเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเป็นประจำในเรื่องของการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ

References

กาญจนา รวดเร็ว. (2558). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชวบดินทร์อิทธิพงศ์เดช. (2560). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรสังกัดที่ว่าการอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยบูรพา.

นงค์คาร พึ่งพร้อม (2561). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นิภา ปิ่นทองพันธ์. (2562). ความพึงพอใจของผู้มาติดต่อราชการต่อคุณภาพของการให้บริการของพนักงานต้อนรับประจำศาลจังหวัดเกาะสมุย. ใน งานวิจัยเอกบริหารธุรกิจ.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134

ตอนที่ 40 ก, หน้า 19.

รัตดามาศ คาสวนจิก. (2559). ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของส่วนคดี ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุวัตถิ์ไกรสกุล และจุฑาภรณ์คงรักษ์กวิน. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. ทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

Kaplan, R. S. and Norton, D. P. (1996). The Balanced Scorecard: translating strategy in action. Boston: Harvard Business School Publishing Corporation.

Taro Yamane. (1973).Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York.Harper and Row Publications.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023