ภาวะผู้นำครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • อัษฎาวุธ หงษ์ชาติ -

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำครู, โรงเรียนในเครือสารสาสน์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดชลบุรีและเพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดชลบุรีจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศชลบุรีและโรงเรียนสารสาสน์วิเทศบูรพา จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย () การหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติ t-test และค่าสถิติ F-test

            ผลการศึกษาพบว่า ครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดชลบุรีส่วนใหญ่ ได้แก่ เพศหญิง มีอายุไม่เกิน 30 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีประสบการณ์การทำงานไม่เกิน 5 ปี และภาวะผู้นำครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดชลบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย อันดับแรก ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลเชิงบวก ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ ด้านการพัฒนาวิชาชีพ ด้านความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการสอน และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามลำดับ จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดชลบุรี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน มีภาวะผู้นำครูไม่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

References

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (2564). แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา (ฉบับ ปรับปรุง). Retrieved August 12, 2023 from

http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2021/03/01-แผน-ปฎร. การศึกษา.pdf.

คเณศ จุลสุคนธ์ (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการเป็นสมาชิกกลุ่มไม่เป็น

ทางการกับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน. วารสารวิจัย มทร., 6(2).

ซัมซียะห์ เมาลิดิน (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิสาส เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ดลนภา ดีบุปผา (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมในองค์กร ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานกับ

ความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทเอบีฟู้ดจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดาราวดี บรรจงช่วย. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.

นิตยา ร่มโพธิ์รี (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจัดการการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาล

สถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประหยัด พิมพา (2018). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(1), 242-249.

ปราโมทย์ กัลยา (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของ ข้าราชการครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1.

ปริญญานิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุบลราชธานี.

รินนา ราชชารี (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นําครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิเชียร วิทยอุดม. (2550). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

ศุภกร ภูหลงเพีย. (2564). ภาวะผู้นำของครูในโรงเรียนพื้นที่เกาะ จังหวัดตราด. สารนิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

สัญญา เคณาภูมิ (2551). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขง. วิทยานิพนธ์ รัฐ

ประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์ (2551). สาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากร. กรุงเทพมหานคร:

สามเจริญพาณิชย์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2553). คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา.

กรุงเทพมหานคร: ผู้พิมพ์

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (2551). พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550.

กรุงเทพมหานคร: สกสค.

เสาวตรี รัชตโสตถิ์, อนุสรา สุวรรณวงศ์, และ ธีระดา ภิญโญ (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครู

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในความร่วมมือของวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์. วารสาร

สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 10(1), 15-25.

อัจศรา ประเสริฐสิน (2556). การพัฒนาตนเองสำคัญอย่างไรในชีวิตและการทำงาน. วารสารมหาวิทยาลัย

ราชภัฏสกลนคร, 5(10), 73-84.

อนันท์ งามสะอาด (2566). ภาวะผู้นำของครู. Retrieved July 27, 2023, from

https://www.facebook.com/TTECH.BDI/photos/a.107210939365387/

/?type=3&locale=th_TH.

อนุสรา สุวรรณวงศ์ (2560). องค์ประกอบของภาวะผู้นำครูเพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าทางวิชาชีพใน

โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(1), 204-216.

Burger, J., & Hallinger, P. (2007). Teacher leadership: Improving teaching and learning

from inside the classroom. California: Corwin Press.

Glickman, Carl, D. and others. (2010). Supervision and Instruction Leadership A

Development Approach. (8th ed). The United States of America : Person Education,

Inc.

Lieberman, A. (1996). Practices that support teacher development: Transforming

conceptions of professional learning. In McLaughlin, M. & Oberman, I. (Eds.),

Teacher learning: New policies, new practices (pp. 185-201), New York:Teachers

College Press.

Lunenburg. F.C., & Ornstein, A.C. (2013). Educational administration: Concepts and

practices. Spain: Thomson.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024