แรงจูงใจในความผูกพันจงรักภักดีของบุคลากรระดับปฏิบัติการ ต่อมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ปราการ เกิดมีสุข -
  • ณัชชา ธาตรีนรานนท์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ภัควลัญชญ์ ผาณิตพิเชฐวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ปราการ เกิดมีสุข คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สุธีรา Suteera วิทยาลัยอาชีวศึกษากรุงเทพธุรกิจ

คำสำคัญ:

ความผูกพันจงรักภักดีต่อองค์กร, บุคลากรปฏิบัติการทางการศึกษา, แรงจูงใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในของบุคลากรระดับปฏิบัติงานต่อมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง, ระดับความผูกพันจงรักภักดีต่อองค์กรและเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจความผูกพันจงรักภักดีต่อองค์กร ตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ได้ คือ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  F – test และทำการทดสอบแบบจับคู่พหุคูณด้วยวิธีการเปรียบเทียบค่า ผลต่างเฉลี่ยกับค่าผลต่างนัยสําคัญน้อยที่สุด (LSD) ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวม อยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยจูงใจมีค่าเฉลี่ยมากกว่าปัจจัยค้ำจุน ส่วนด้านความผูกพันจงรักภักดีต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับสูงเช่นกัน เมื่อทำการทดสอบสมมติฐาน พบว่าระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ความผูกพันจงรักภักดีต่อองค์กรแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 โดยบุคลากรที่มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้งปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนสูงจะมีความผูกพันสูงกว่าบุคลากรในการปฏิบัติงานปานกลางและตํ่าทุกด้าน เมื่อพิจารณาค่า F พบว่าบุคลากรที่มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันมีกันความผูกพันต่อองค์กรแตกต่าง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านลักษณะของงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านเงินเดือนและผลตอบแทน ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ด้านความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านเทคนิคการควบคุมดูแล ด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน และด้านการได้รับการยอมรับ

References

กานต์ธิดา วิวัฒนสินชัย.(2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความสนุกในที่ทำงานและความหลงไหลในการทำงาน ของพนักงานธนาคารพาณิชย์.ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชามนุษยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีการศึกษา 2566.

กรณ์ธนัญ กิมศุก.(2563).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานที่มีระบบการ ทำงานทางไกล แบบทำที่บ้าน (Work from home).การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัย การจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

จิราภรณ์ สอนดี.(2564).คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน มหาวิทยาลัย สายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต. การจัดการทั่วไป.คณะบริหารธุรกิจ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.

ณัฏฐนันท์ เศวตพงศ์.(2566).ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2.BTU-DEEP JOUNAL BANGKOKTHONBURI UNIVERSITY Vol. 3 No. 1 January – June 2023.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน เกษวงศ์รอด.(2561).แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว.การศึกษาตามหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรี พันธุ์แตงไทย. (2564).แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา บริหารธุรกิจคณะ วิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.อุตรดิตถ์.

สมบัติ อาริยาศาล. (2561). “แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา”. Journal of Roi Kaensarn Academi. 3, 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม)

โสรยา สุภาผลและคณะ.(2564).ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานและปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ Journal of MCU Social Science Review ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2564 หน้า 221-222.

อาภาวี เรืองรุ่ง.(2566).ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาล ตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี.วารสารวิจัยวิชาการ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2566)

Bevins. Daniel T. (2018). "Herzberg's Two Factor Theory of Motivation: A Generational Study". Honors Theses.

Hines, George H. (December 1973). "Cross-cultural differences in two-factor motivation theory". Journal of Applied Psychology. 58 (3): 375–377.

Herzberg, F.(1959). Federick; Mausner, Bernard; and Synderman, Block the Motivation to Work. New York: John Willey.

McClelland, D. C. (1961). The achieving society. New York: The Free Press.

Vroom, H.V. (1970). Work and motivation. New York: Wiley and Sons Inc.

เผยแพร่แล้ว

30-11-2024