ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับแนะแนวการศึกษาต่อและการมีงานทำ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี

ผู้แต่ง

  • รติรัตน์ ฟักทอง -

คำสำคัญ:

แนะแนวการศึกษาต่อ, การมีงานทำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับแนะแนวการศึกษาต่อและการมีงานทำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับแนะแนวการศึกษาต่อและการมีงานทำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โดยจำแนกตามสถานภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 475 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 443 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับแนะแนวการศึกษาต่อและการมีงานทำ ปัญหาโดยภาพรวมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับน้อย ซึ่งด้านที่พบปัญหามากที่สุดคือ ด้านศึกษารวบรวมข้อมูลนักเรียน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งด้านที่พบปัญหามากที่สุดคือ ด้านสนเทศ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับแนะแนวการศึกษาต่อและการมีงานทำ พบว่าระดับปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในทุกด้าน 3) ข้อเสนอแนะ ในการวิจัยครั้งนี้ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คือโรงเรียนควรมีระบบในการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ซับซ้อน และไม่เก็บข้อมูลบ่อยครั้งมากเกินไป และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คือโรงเรียนควรมีกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และควรมีจัดป้ายประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารหรือใช้สื่อทางออนไลน์ ในการประชาสัมพันธ์ให้กับนักเรียนมากขึ้น

References

นิรุทธ์ วัฒโนภาส และ วัลลภา วงศ์ศักดิรินทร์. (2661). การศึกษาความต้องการการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปทุม มหาปราบ. (2557). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พิชิต จินดาศรี, ธนวิน ทองแพง และ ชัยพจน์ รักงาม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 8(2), 117-140.

เรียม ศรีทอง. (2559). การออกแบบกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการพัฒนาทักษะสำหรับผู้เรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อน โครงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำในศตวรรษที่

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การขับเคลื่อนการศึกษามัธยมศึกษาไทย 4.0 เพื่อการมีงานทำแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 –2580. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อณัฐ ลัดลอย. (2561). การแนะแนวอาชีพเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานของนักเรียนสายสามัญ ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยสยาม.

Maslow, A. H. (1943). A Theory of Human Motivation. Journal Psychology Re

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024