การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร รูปแบบ 2W3P ร่วมกับแผนผังความคิด

ผู้แต่ง

  • เสฏฐวุฒิ ขยันกสิกร มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ชุติมา วัฒนะคีรี มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • วีณา ซุ้มบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการอ่านจับใจความ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ใช้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารรูปแบบ 2W3P ร่วมกับแผนผังความคิด ก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารรูปแบบ 2W3P ร่วมกับแผนผังความคิด ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดทรงธรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเพื่อการสื่อสารรูปแบบ 2W3P ร่วมกับแผนผังความคิด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการอ่านจับใจความ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของเลขคณิต x ̅ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ และสถิติทดสอบ Dependent-sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารรูปแบบ 2W3P ร่วมกับแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารรูปแบบ 2W3P ร่วมกับแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชีวิน สุขสมณะ และคณะ (2566). การใช้กิจกรรมแผนผังเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ระดับต้นในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 3. วารสารวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ธัญญา ผลอนันต์. (2544). ใช้หัวคิด พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ขวัญข้าว.

ธัญญา ผลอนันต์ (2543). เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องการใช้ Mind mapping ในการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิมพ์ศา เลี่ยมพรมราช (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบ Times Readings และการศึกษาพฤติกรรมโดยใช้กราฟศึกษาพัฒนาการทักษะการอ่านด้วยการประเมินด้วยตนเองกรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน. วารสารการวัดผลการศึกษา. 32 (91). 58-69.

วันชัย วิพุชฌติยากุล และคณะ (2566). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมนครสวรรค์ด้วยสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่วชาติ (องค์การมหาชน). (2566). สทศ. ประกาศผลสอบ O-NET ปี การศึกษา 2563 - 2565 จำแนกตามสังกัด ขนาดโรงเรียน ที่ตั้ง ภูมิภาค รายสาระ. เรียกใช้ เมื่อ 23 เมษายน 2565 จาก สถาบันทอสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน): http://www.niets.or.th/.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560).แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.

Buzan, T. &; Buzan, B (1997). The Mind map book: Radiant thinking. London: BBC.

Davies, P., & Pearse, E (2000). Success in English teaching. Oxford: Oxford University Press.

Flood, J., & Lapp, D. (1999). Integrating the Language Arts and Content Areas: Effective Research-Based Strategies.

Richards, Jack. C. (2006). Communicative Language Teaching Today. Cambridge University Press.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024